อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 72
หน้าที่ 72 / 442

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับอภิธัมมัตถสังคหบาลีและอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกาในหน้าที่ 72 เน้นการวิเคราะห์จิตและเจตสิกต่างๆ โดยมีการแบ่งประเภทจิตตามที่เห็นในตำรา ศึกษาเรื่องการเกิดของอารมณ์ภายในจิตที่สัมพันธ์กับวิจาร, ปีติ, และฉันทะ รวมถึงการแยกแยะระหว่างอารมณ์กุศลและอารมณ์อกุศล โดยมีการสรุปคุณสมบัติเด่นของจิตภายในกลุ่มต่างๆ ของพฤติกรรมที่เกิดจากปัญญา การควบคุมอารมณ์ และสภาวะทางจิตใจ การวิเคราะห์ประเด็นเหล่านี้สำคัญต่อการศึกษาอภิธัมมัตถซึ่งสามารถใช้ในการสำรวจความเข้าใจในจิตใจมนุษย์และพัฒนาความรู้ในทางจิตวิทยาและพระพุทธศาสนา

หัวข้อประเด็น

-อภิธัมมาจิต
-เจตสิก
-อารมณ์
-กุศลและอกุศล
-การวิเคราะห์จิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 72 ในจิตได้เพียง ๕๕ คือ ในกามาวจรจิต เว้นทวิปัญจวิญญาณ (เสีย ๑๐ คงเหลือ ๔๔) และปฐมฌานจิต ๑๑ ส่วนวิจารเกิดในจิต ๖๖ คือ ในจิตที่วิตกเกิดเหล่านั้น (๕๕) และในทุติยฌานจิต ๑๑ ฯ แต่อธิโมกข์ เกิดในจิตหลวงดวงเว้นทวิปัญจวิญญาณ และจิตที่สหรคตด้ว ตด้วยวจิกิจฉา ก็วิริยะเกิดในจิตทั้งหลาย เว้นปัญจทวาราวัชชนะ ทวิปัญจวิญญาณ สัมปฏิจฉันนจิต และสันติรณจิตฯ ปีติเกิดในจิตทั้งหลาย เว้นจิตที่ สหรคตด้วยโทมนัส อุเบกขากายวิญญาณ และจตุตถฌานจิตฯ ฉันทะ เกิดในจิตทั้งหลาย เว้นอเหตุกจิตและโมมูหจิต ฯ [สังหาคาถา] ก็จิตตุปบาทเหล่านั้น ที่เว้นจากปกิณณก เจตสิกมี ๖๖-๕๕-๑๑-๑๖-๗๐ และ ๒๐ และทีมีปกิณณกเจตสิก มี ๕๕-๖๖-๗๘- ๓๓-๕๑ และ ๖๘ ตามลำดับ ฯ ก็บรรดาอกุศลเจตสิกทั้งหลาย เจตสิก ๔ เหล่านี้ คือ โมหะ ๑ อหิริกะ ๑ อโนตตัปปะ ๑ อุทธัจจะ ๑ ชื่อว่าสัพพากุศลสาธารณะได้ใน อกุศลจิตแม้ทั้งหมด ๑๒ ฯ โลภะ ได้ในอกุศลจิต ๘ ที่สรรคตด้วยโลภะ เท่านั้น ฯ ทิฏฐิ ได้ในอกุศลจิต ๔ ที่ประกอบด้วยทิฏฐิ ฯ มานะ ได้ ในอกุศลจิต ๔ ที่ปราศจากทิฏฐิ ฯ เจตสิก ๔ คือ โทสะ ๑ อิสสา ๑ มัจฉริยะ ๑ กุกกุจจะ ๑ ได้ในปฏิฆจิต ๒ ฯ ถีนมิทธะ ได้ในสสังขาริก จิต ๕ ฯ วิจิกิจฉา ได้เฉพาะในจิตที่สหรคตด้วยวิจิกิจเท่านั้น ฉะนี้แล ฯ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More