ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 322
บรรดานีวรณ์เหล่านี้ อุทธัจจกุกกุจจะ และ
ถีนมิทธะ พระชินเจ้าผู้คงที่ ทรงกระทำให้เป็น
เพียงอย่างเดียว เพราะมีกิจ อาหาร และธรรม
คู่ปรับเป็นอย่างเดียวกัน ฯ เพราะอุทธัจจกุก-
กุจจะเป็นต้นเหล่านั้น มีความหดหู่และความ
ไม่สงบเป็นกิจ มีความคร้านกายและความ
คำนึงถึงญาติเป็นเหตุ มีความเพียงและความ
สงบเหล่านี้เป็นคู่ปรับ (เป็นปฏิปักษ์) ฯ
[อธิบายอนุสัย]
ธรรมที่ชื่อว่าอนุสัย เพราะอรรถว่า ตามนอนเนื่องอยู่ในสันดาน
เพราะอรรถว่า ยังละไม่ได้ อธิบายว่า สบเหตุเหมาะก็เกิดขึ้น ๆ จริงอยู่
กิเลสที่ยังละไม่ได้ ควรแก่การเกิดขึ้นในเมื่อมีการได้เหตุ เป็นเหมือน
นอนเนื่องอยู่ในสันดาน เพราะฉะนั้น กิเลสที่มีลักษณะเครื่องกำหนด
เช่นนั้น เรียกว่า อนุสัย ฯ ก็กิเลสเหล่านั้น ที่ยังเป็นอนาคต ท่าน
เรียกว่า อนุสัย โดยนิปปริยาย ถึงที่เป็นอดีตและปัจจุบัน ก็เรียกว่า
อนุสัยเหมือนกัน เพราะมีการเกิดขึ้นนั้นเป็นสภาพฯ จริงอยู่
เพราะความต่างกันแห่งกาล ธรรมทั้งหลายไม่มีสภาพต่างกัน (ไม่มี
ความต่างกันแห่งสภาพ) ฯ ท้วงว่า ถ้าว่า กิเลสที่ชื่อว่าอนุสัย เพราะ
อรรถว่า ยังละไม่ได้ไซร้ กิเลสแม้ทั้งหมด ที่ยังละไม่ได้ ก็ควร
ชื่อว่าอนุสัยมิใช่หรือ ฯ แก้ว่า พวกเราไม่ดูดว่า ที่ชื่อว่าอนุสัย ด้วย
เหตุเพียงยังละไม่ได้ ที่จริง เราพูดว่า กิเลสที่ยังถึงความมีกำลังแรง