ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 374
โดยภาวะที่ตนเป็นธรรมสงบ คือไร้อุตสาหะเพื่อความเป็นธรรมสงบ คือ
หมดความอุตสาหะ ชื่อวิปากปัจจัย ฯ จริงอยู่ วิบากมีภวังคจิตเป็นต้น
เป็นของรู้ได้ยาก เพราะเป็นความสงบแห่งสันดานที่ไร้อุตสาหะนั่นเอง
เพราะสักว่าเป็นความสำเร็จ (ผล) จากกรรมที่สัตว์ทำไว้ เพราะเหตุที่
วิบากจิตเหล่านั้น บุคคลไม่พึงให้สำเร็จได้โดยประโยค (ความขวน
ขวาย) ฯ ส่วนวิบากจิตเป็นเพียงการตกไป (ในรูปารมณ์เป็นต้น ของ
ปัญจวิญญาณ) การรับและการพิจารณาเป็นของรู้ได้ยากทีเดียว ฯ ความ
ที่ปัญจวิญญาณสัมปฏิจฉันนจิตและสันตีรณจิตเหล่านั้น รับอารมณ์มีรูป
เป็นต้น บัณฑิตย่อมรู้ได้โดยความเป็นไปแห่งชวนะเท่านั้น ฉะนี้แล ฯ
[อธิบายอาหารปัจจัย
મ્
อาหาร ๔ เป็นอุปการะแก่รูปและอรูป โดยความเป็นเครื่อง
อุปถัมภ์ ชื่อว่าอาหารปัจจัย ฯ จริงอยู่ ถึงแม้เมื่อมีกรรมที่แต่งให้เกิด ข้อที่
อาหารเป็นเครื่องค้ำจุนนั้นเอง ก็เป็นหน้าที่สำคัญของอาหาร ฯ อาหาร
แม้เมื่อให้เกิด ก็ค้ำจุนด้วยอำนาจแห่งความสืบต่อไม่ขาดสายให้เกิดขึ้น
เพราะฉะนั้น ความเป็นเครื่องค้ำจุนนั่นเอง จึงจัดเป็นอาหารได้ ฯ
ธรรมที่ชื่อว่าเป็นปัจจัย เพราะอรรถคือความเป็นใหญ่ กล่าวคือการ
ยังปัจจุบันธรรมทั้งหลายให้อนุวัตรตามซึ่งตนในกิจนั้น ๆ กล่าวคือการ
ปัจจัย ฯ ธรรมทั้งหลายมีวิตกเป็นต้น ซึ่งเข้าไปเพ่งอารมณ์ ด้วย
อำนาจแห่งอาลัมพนูปนิชฌาน (การเพ่งอารมณ์) และลักขณูปนิชฌาน
(การเพ่งลักษณะ) ชื่อฌานปัจจัย ฯ ธรรมมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น ชื่อว่า