ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 391
ตามอรรถ และนามตามนิยม มี 4 อย่าง ด้วยสามารถแห่งสามัญนาม
(ชื่อทั่วไป) คุณนาม (ชื่อตามคุณ) กิริยานาม (ชื่อตามการกระทำ)
และยกิจฉนาม (ชื่อตามใจชอบ) ฯ กรรมคือนาม ชื่อว่านามกรรมฯ
นามไธย ก็อย่างนั้น ๆ การพูด คือการกล่าวอรรถออกโดยทรงอักขระ
เสียงที่ชื่อว่าอภิลาป เพราะอรรถว่า (เป็นเสียง) ที่บุคคลพูด คือ
ลำดับแห่งการประชุมของอักษรที่ไปตามเสียง ๆ เพื่อแสดงว่า อันนาม
บัญญัตินี้นั้น มีอยู่ 5 อย่าง ด้วยอำนาจแห่งวิชชุมานบัญญัติ อวิชชมาน
บัญญัติ และความประกอบกันแห่งบัญญัติทั้ง ๒ อย่างนั้น ท่านอาจารย์
กล่าวคำมีอาทิว่า วิชฺชมานปญฺญตฺติ ฯ คำว่า เอตาย ปญฺญาเป็นติ
ความว่า บัณฑิตทั้งหลายย่อมประกาศด้วยคำมีอาทิว่า รูป เวทนา
ดังนี้ ฯ คำว่า อุภินฺนํ ความว่า (ด้วยสามารถแห่งความคละกัน)
แห่งวิชชมานบัญญัติและอวิชชามานบัญญัติทั้งสองฯ บุคคลชื่อว่า
ฉฬภิญญะ เพราะอรรถว่า มีอภิญญา ๖ คือ อภิญญา ๕ และ
อาสวักขยญาณ ๑ ฯ
ก็บรรดาบัญญัติ 6 มีวิชชามานบัญญัติเป็นต้นนั้น บัญญัติว่าบุคคล
ได้อภิญญา ๖นี้ ชื่อว่าวิชชามาเนนาวิชชมานบัญญัติ (บัญญัติของที่ไม่มี
กับของที่มีอยู่) เพราะอภิญญามีอยู่ และเพราะบุคคลผู้ได้อภิญญานั้น
ไม่มี ฯ อนึ่ง บัญญัติว่าเสียงของหญิง ชื่อว่าอวิชชามาเนนวิชชมานบัญญัติ
(บัญญัติของที่มีอยู่กับของที่ไม่มี) เพราะหญิงไม่มี และเพราะเสียงมี
อยู่ฯ บัญญัติว่าจักขุวิญญาณ ชื่อว่าวิชชมาเนนวิชชุมานบัญญัติ (บัญญัติ
ๆ