ข้อความต้นฉบับในหน้า
ๆ
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 143
ย่อมเป็นไปตามสมควร ฯ ต่อจากนั้นก็เป็นภวังคบาต (จิตตกภวังค์)
เลย ฯ ด้วยคำเพียงเท่านี้ ขณะจิต ๑๓ ขณะ เต็มบริบูรณ์ เพราะทำ
อธิบายว่า วิถีจิตตุปบาท ๑๔ ภวังคจลนะ ๒ และขณะจิต ๑ ที่ล่วง
ไปก่อนแล้วนั่นแล ฯ ต่อจากนั้นจิตก็ดับไป ๆ อารมณ์นี้ ชื่อว่า
อติมหันตารมณ์ ฯ ก็อารมณ์ที่มาสู่คลองไม่พอถึงการเกิดตทาลัมพนะ
ผ่านไปเสีย ชื่อว่ามหันตารมณ์ ฯ ในมหันตารมณ์นั้น ภวังคบาต
(จิตตกภวังค์) มีในที่สุดแห่งชวนะเท่านั้น ฯ ตทาลัมพนะไม่เกิด ฯ
อารมณ์ที่มาสู่คลองไม่พอถึงแม้การเกิดขึ้นแห่งชวนะ ผ่านไปเสีย ชื่อว่า
ปริตตรมณ์ ฯ ในปริตตารมณ์นั้น โวฏฐัพพนะเท่านั้นเป็นไป ๒-๓ ครั้ง
เพราะแม้ชวนะก็ไม่เกิด ๆ ต่อจากนั้นก็เป็นภวังคบาต (จิตตกภวังค์) ฯ
ก็อารมณ์ที่มาสู่คลองไม่พอถึงการเกิดขึ้นแห่งโวฏฐัพพนะผ่านไปใกล้ต่อ
ความดับ ชื่ออติปริตตารมณ์ ฯ ในอภิปริตตารมณ์นั้น มีเพียงภวังคจลนะ
เท่านั้น ฯ วิถีจิตไม่เกิด ฯ วิสัยปวัติที่เป็นอารมณ์แห่งวารทั้ง ๔ คือ
ตทาลัพพนวาร ชวนวาร โวฏฐัพพนวาร และโมฆวาร ตามลำดับใน
ปัญจทวาร แม้โดยประการทั้งปวง คือ ในจักขุทวารและในโสตทวาร
เป็นต้นก็อย่างนั้น บัณฑิตพึงทราบโดยประการ ๔ อย่าง ด้วยประการ
ฉะนี้แล ฯ
[สังคหคาถา
ในทวารทั้ง ๕ มีวิถีจิตเพียง ๒ มีจิตตุปบาท
๑๔ โดยพิสดารมี ๕๔ ตามสมควร ฯ
นี้เป็นปวัติ
ปวัตินัยแห่งวิถีจิตในทวารทั้ง ๕ ในวิสัยปวัติสังคหะนี้ ฯ