อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา (หน้า 89) อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 89
หน้าที่ 89 / 442

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้ได้กล่าวถึงความเข้าใจในถนะและมิทธะ โดยอธิบายถึงสภาวะจิตที่ท้อแท้หรือไม่ขะมักเขม้นในรูปแบบต่าง ๆ และการมีอุปกรณ์ที่ไม่พร้อมสำหรับการทำงาน ความแตกต่างระหว่างถีนะและมิทธะถูกชี้แจงอย่างละเอียด โดยให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของพระอาจารย์ในประเด็นนี้ และการวิเคราะห์ในอรรถกถาต่าง ๆ ด้วย

หัวข้อประเด็น

- อภิธัมมัตถสังคหบาลี
- อภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา
- ความท้อแท้ในจิต
- การวิเคราะห์ถนะและมิทธะ
- ความสำคัญของคำสอนในพระบาลี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา - หน้าที่ 89 [ถนะและมิทธะ ความท้อแท้ ชื่อว่าถีนะ ฯ ภาวะแห่งจิตที่ดิ่งลงด้วยอำนาจความ ไม่ขะมักเขม้นและความจมลง ชื่อว่านะ ฯ ความเซาซึม ชื่อว่ามิทธะ ได้แก่ความที่จิตปราศความสามารถ ฯ အာ ในถนะและมิทธะนั้น ถีนะ มีความที่จิตไม่ควรแก่การงานเป็น ลักษณะ มิทธะ มีความที่ขันธ์ทั้ง ๓ มีเวทนาขันธ์เป็นต้น ไม่ควรแก่ การงานเป็นลักษณะ ความต่างแห่งถิ่นะและมิทธะนั้น ดังนี้ ๆ จริง อย่างนั้น นิเทศแห่งถิ่นะและมิทธะเหล่านี้ เป็นไปในพระบาลีโดยนัย มีอาทิว่า ในถนะและมิทธะเหล่านั้น ถีนะเป็นไฉน ความที่จิตไม่คล่อง ไม่ควรแก่การงาน ชื่อว่าดีนะ ในถนะและมิทธะเหล่านั้น มิทธะเป็นไฉน ความที่กายไม่คล่อง ไม่ควรแก่การงาน ชื่อว่ามิทธะ ฯ มีคำท้วงสอดเข้า มาว่า ก็เพราะบาลีว่า กายสฺส (แห่งกาย) แม้รูปกายไม่ควรแก่การงาน ก็ชื่อว่ามิทธะมิใช่หรือ เพราะฉะนั้น แม้ความที่มิทธะนั้นเป็นรูปจึงถูกๆ เฉลยว่า ไม่ถูก เพราะความที่มิทธะเป็นรูปนั้น ถูกอาจารย์ทั้งหล คัดค้านแล้วในปกรณ์นั้น ๆ ด้วยอำนาจแห่งเหตุที่ท่านนำมาอ้างแล้ว นั่นเทียวฯ วฯ ความจริง พระอาจารย์ทั้งหลายบรรยายคำที่ยกวาทะของ ท่านที่กล่าวว่า มิทธะเป็นรูป ขึ้นตั้งเป็นประธานไว้ในคัมภีร์อรรถกถา เป็นต้นมากมาย เพื่อจะค้านมติของท่านที่ว่ามิทธะเป็นรูปฯ ก็ในอธิการ ว่าด้วยมิทธะนี้ ท่านรวบรวมความไว้ ดังต่อไปนี้ ฯ งหลาย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More