ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 373
เมื่อไม่มีปัจฉาชาตปัจจัย ธรรมคือจิตและเจตสิก ซึ่งเกิดภายหลังเป็น
อุปการะ โดยเป็นอุปถัมภ์แก่ร่างกาย อันยังไม่ถึงความเป็นเหตุ
แห่งการตั้งอยู่ของความสืบต่อ ชื่อปัจฉาชาตปัจจัย ฯ ปัจฉาชาตปัจจัย
นั้น บัณฑิตจึงเห็นเหม็นเจตนาปรารถนาอาหาร” เป็นปัจจัยแก่ตัวลูก
แร้งฉะนั้นๆ
[ อธิบายอาเสวนปัจจัย ]
การที่ธรรมเช่นกับตน โดยความเป็นกุศลเป็นต้น ยึดความที่
ธรรมซึ่งมีชาติอันเสมอกับตนอันถึงความพิเศษโดยความเป็นธรรมช่ำชอง
และมีกำลัง ดุจหนึ่งคัมภีร์ที่ท่องจำไว้ก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ (การ
ท่องจำ) คัมภีร์ต่อ ๆ ไปฉะนั้น ชื่ออาเสวนะ ฯ ธรรมที่มีธรรมชาติเสมอกัน
นั่นเอง เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่มีชาติเสมอกัน โดยอาเสวนะนั้น ชื่อว่า
อาเสวนปัจจัย ฯ จริงอยู่ ธรรมมีชาติต่างกัน ย่อมไม่อาจให้ธรรมมีชาติ
ต่างกันถือเอาคติของตน กล่าวคือความเป็นกุศลเป็นต้นอันพิเศษ โดย
ความเป็นธรรมมีกำลังคล่องแคล่ว โดยคุณคืออาเสวนะ ทั้งตนเองก็
ไม่ถือเอาคติจากธรรมมีชาติต่างกันนั้น ๆ แต่บัณฑิตพึงทราบสันนิษฐาน
ว่า ก็อาเสวนปัจจัยเหล่านั้น เป็นกุศลากุศลที่เป็นโลกิยะและเป็นกิริยา
ๆ
ชวนะที่เป็นอาวัชนะ อันล่วงไปหาระหว่างมิได้ ฯ เจตนาเป็นเครื่อง
อุปการะแก่ปัจจุบันธรรมที่เกิดร่วมกัน (กับตน) และที่เกิดต่างขณะกัน
โดยความเป็นกิริยากล่าวคือความขวนขวายแห่งจิต ชื่อกัมมปัจจัย ฯ จิต
และเจตสิกซึ่งเป็นวิบาก
เป็นเครื่องอุปการะแก่นามรูปซึ่งเกิดร่วมกัน
๑. เจตนาที่ประกอบด้วนรสตัณหาในอาหาร