อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 186
หน้าที่ 186 / 442

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้อธิบายถึงการเกิดขึ้นของวิญญาณในทวารต่าง ๆ และการจำแนกจิตตามภูมิความเป็นไปของมัน รวมถึงการดำเนินไปของจิตในแต่ละภพที่ไม่มีการหยุดพัก ซึ่งอาจารย์ได้ชี้ให้เห็นถึงการทำงานของจิตที่อยู่ใกล้เคียงกับความเป็นจริง

หัวข้อประเด็น

-การสร้างจิตในทวาร
-การจำแนกภูมิของจิต
-อำนาจของภูมิในจิต
-อภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา
-ความต่อเนื่องของสภาพจิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 186 อธิบายอย่างนี้ ท่านอาจารย์จึงกล่าวไว้ ในปกรณ์ธรรมานุสารณีว่า ในเวลาที่พวกพรหมหน่วงเหนี่ยวอนิฏฐารมณ์เป็นกามาวจร ความเกิด ขึ้นแห่งจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ มโนธาตุ และสันตีรณะที่เป็น อกุศลวิบาก ย่อมมีแม้ในสุคตินั้น (ในรูปาวจรภูมินั้น) ฯ การจำแนก จิตเป็นไปด้วยอำนาจแห่งภูมิ ชื่อว่าภูมิวิภาค ฯ บทว่า ยถาสมุภวํ คือตามสมควรแก่ความเป็นไปในทวารนั้น ๆ หรือในภพนั้น ๆ ๆ ยาวตายุ มีอธิบายว่า ความเป็นไปแห่ง จิตที่เป็นไปในทวารทั้ง ๖ เมื่อไม่มีนิโรธสมาบัติ ย่อมเป็นไปไม่ขาด สาย จำเดิมแต่วิถีจิตที่เป็นไปในมโนทวาร ซึ่งเป็นไปแล้วต่อจาก ปฏิสนธิจิต ด้วยอำนาจความยินดีในภพ ตลอดจุติจิตเป็นที่สุด หรือ ตลอดที่สุดภวังคจิต ที่เป็นไปก่อนแต่จุติจิตนั้น ๆ พรรณนาความปริเฉทที่ ๔ แห่งฎีกาอภิธัมมัตถสังคหะ ชื่ออภิธัมมัตถวิภาวินี จบด้วยประการฉะนี้ ฯ ન
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More