ความเข้าใจในพระอภิธรรมและการกำหนดธรรม อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 153
หน้าที่ 153 / 442

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้กล่าวถึงหลักการที่เกี่ยวข้องกับความปรากฏของธรรมในพระอภิธรรม ซึ่งย้ำว่าธรรมไม่สามารถตั้งอยู่ในช่วงเวลาชั่วขณะได้ พร้อมกับการอธิบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการกำหนดความเกิดและดับของธรรม ที่เชื่อมโยงกับแนวคิดต่างๆ ของ อาจารย์ในพระอภิธรรม และการบรรยายที่มุ่งเน้นความเข้าใจธรรมทั้งในด้านการเกิดและการดับ โดยไม่ผิดอัธยาศัยของเวไนยสัตว์ว่ามีลักษณะอย่างไรในสังคม

หัวข้อประเด็น

- ความปรากฏของธรรม
- การกำหนดความเกิดและดับ
- อภิธัมมัตถสังคหบาลี
- แนวคิดของอาจารย์
- ลักษณะของสังขตธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 153 กล่าวถึงความปรากฏ มิได้ทรงหมายเอาตั้งอยู่ชั่วขณะเลย ฯ เหตุ ในการที่จะไม่ตรัสถึงธรรมที่ได้อยู่ในพระอภิธรรมไม่มีเลย ฯ เพราะ ฉะนั้น แม้การไม่ตรัสถึงในยถาธรรมศาสน์ ก็แสดงถึงความไม่มีอยู่ ฯ ข้าพเจ้าจะขอเฉลยในวาทะของอาจารย์บางพวกนั้น ๆ แท้จริง นั่นเอง แม้เนื่องมีธรรมอย่างหนึ่งเป็นที่ตั้งอยู่แห่งความเก๋ขึ้นและความดับไป อุปปบาทขณะเป็นอย่างอื่น ภังคขณะก็เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้น ท่าน จึงต้องการกำหนด คือดับไป ซึ่งต่างจากการกำหนดคือเกิดขึ้น ก็เมื่อจะถือเอาความอย่างอื่น ต้องพูดได้ว่า ธรรมอย่างอื่นต่างหาก เกิดขึ้น ธรรมอย่างอื่น ฉันใด แม้การกำหนดที่บ่ายหน้าไป หาความดับ ซึ่งต่างจากการกำหนดคือเกิดดับจำต้องปรารถนา ฉันนั้น นั่นแลฯ การกำหนดที่บ่ายหน้าไปหาความดับนั้น ชื่อว่าฐิติ ฯ แต่ใน พระบาลีไม่ได้ตรัสฐิตินั้นไว้ด้วยอำนาจทรงแสดงนัยโดยไม่ผิดอัธยาศัยของ เวไนยสัตว์ฯ จริงอยู่ แม้เทศนาในพระอภิธรรม บางครั้งก็เป็นไปโดยไม่ผิด อัธยาศัยของเวไนยสัตว์ ดุจความเกิดแห่งรูปที่ทรงแยกแสดงเป็น ๒ อย่าง คือ อุปจยะ ๑ สันตติ ๑ ฉะนั้น ๆ แต่เพราะในพระสูตร พระผู้มีพระภาคตรัสเกิดขึ้นเป็นต้นไว้ ก็เพื่อแสดงลักษณะแห่ง สังขตธรรมเท่านั้น อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะของ สังขตธรรมมี ๓ ประการนี้ ๓ ประการอะไรบ้าง คือ ความเกิด က ปรากฏ ๑ ความเสื่อมปรากฏ ๑ ความเป็นอย่างอื่นแห่งธรรมที่ตั้งอยู่ ๑. อวตวา แปลว่า กำหนด แต่หมายเอาสภาพก็ได้ อาการก็ได้ ฐานะก็ได้
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More