ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 22
กันว่า รุปปติ ทั้งนั้น เพราะฉะนั้น จะประโยชน์อะไรด้วยศัพท์ มี สิต
ศัพท์ เป็นต้นฯ ก็ศัพท์ว่า สีต เป็นต้นนั้น อรรถที่จะให้รู้ว่า ความ
แปรผันแห่งรูปอันวิโรธปัจจัยมีเย็นเป็นต้นถูกต้องแล้ว ปรากฏชัดกว่า
เพราะฉะนั้น ความแปรผันเช่นนั้นแหละ ท่านประสงค์เอาในบทว่า
รุปปติ นี้ ฯ ประท้วงอีกว่า ถ้าเช่นนั้น การบัญญัติว่ารูปในพรหมโลก
จะมีได้อย่างไร เพราะในพรหมโลกนั้น วิโรธปัจจัยมีเย็นเป็นต้น ที่เป็น
เครื่องเบียดเบียนหามีไม่ ฯ เฉลยว่า แม้ปัจจัยที่เบียดเบียนจะไม่มี ก็
จริงอยู่ แต่ก็มีปัจจัยที่ค้ำชู เพราะฉะนั้น ความแปรผันในพรหมโลกนั้น
ย่อมมีได้ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยที่ค้ำชูนั้น ๆ อีกอย่างหนึ่ง การบัญญัติว่า
รูป ในพรหมโลกนั่นมีได้ เพราะไม่ล่วงเลยสภาพแห่งความแปรผันนั้น
ไปได้ฯ พอทีไม่ควรชักช้านัก ฯ
ๆ
ธรรมชาติที่ชื่อว่านิพพาน เพราะอรรถว่า ออกจากตัณหา ที่ท่าน
เรียกว่า "วานะ" เพราะร้อยรัด คือเย็บไว้ ซึ่งภพน้อยและภพใหญ่
หรือเพราะอรรถว่า เป็นเครื่องดังไฟ มีไฟคือราคะเป็นต้นฯ
เพราะเหตุที่การแสดงสภาพแห่งธรรมที่มีวิภาค จะเว้นวิภาคเสีย
ไม่ได้ ฉะนั้น ในบัดนี้ ท่านอาจารย์เมื่อปรารภจะแสดงจำแนกจิตด้วย
อำนาจแห่งข้อเบ็ดเตล็ดมี ภูมิ ชาติ และสัมประโยคเป็นต้นก่อน
เพื่อจะแสดงวิภาคแห่งอรรถที่ตรัสไว้ในอภิธรรม ตามที่ยกขึ้นแสดงไว้
โดยลำดับแห่งอุเทศ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ตตฺถ จิจจ์ ตาว ดังนี้ ฯ
ตาว ศัพท์ ย่อมเป็นไปในอรรถแห่งศัพท์ว่า "ปฐม" นี้ ฯ ก็เนื้อความใน