อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 419 อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 419
หน้าที่ 419 / 442

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงการเจริญกรรมฐานและความสำคัญของสมาธิในพระพุทธศาสนา โดยเน้นการประณีตและการข่มนิวรณ์เพื่อพัฒนาจิตสู่ระดับอภิญญา ซึ่งเป็นการรู้ยิ่ง และการใช้กรรมฐาน ๑๐ เพื่อเจริญจิตอันเป็นเลิศ รวมถึงความหมายของอรูปที่ ๓ และการปฏิบัติตนให้เป็นที่ยอมรับในความเป็นอรหันต์และสัมมาสัมพุทธะ.

หัวข้อประเด็น

-อภิญญา ๕
-กรรมฐาน ๑๐
-การพัฒนาสมาธิ
-การเตรียมจิตสำหรับการภาวนา
-การบรรลุถึงความเป็นอรหันต์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 419 หลายบทว่า สนฺตเมต์ ปณีตเมตนุติ ปริกมุม กโรนฺตสฺส ความว่า เมื่อพระโยคีเจริญอยู่ว่า อรูปที่ ๓ นี้สงบ อรูปที่ ๓ นี้ประณีต เพราะอรูปที่ ๓ มีเพียงความไม่มีเป็นอารมณ์ ฯ บทว่า อวเสเสสุ จ ความว่า ในกรรมฐาน ๑๐ อย่าง คือ อนุสสติ ๘ ข้างต้น มีพุทธา นุสสติเป็นต้น และสัญญา ๑ การกำหนด ๑ ที่เหลือจากกรรมฐาน อันนำอัปปนามา ๓๐ มีกสิณเป็นต้น ฯ สองบทว่า ปริกมุม กตฺวา ความว่า กระทำบริกรรมโดยวิธีที่กล่าวแล้วเป็นต้นว่า พระผู้มีพระภาค เจ้านั้น พระองค์เป็นพระอรหันต์ เพราะเหตุแม้นี้ เป็นสัมมาสัมพุทธะ เพราะเหตุแม้นี้ ฯ บทว่า สาธุกมุคฺคหิเต คือ เมื่อกำหนดนิมิตได้ด้วย ดีโดยอำนาจความเป็นผู้มีจิตน้อมไป เอนไป โอนไปในคุณแห่งพระพุทธ เจ้าเป็นต้นฯ สองบทว่า ปริกมุมญฺจ สมาธิยติ คือ บริกรรมภาวนา ย่อมสำเร็จรูปนักหน่วงมั่นเข้า ฯ สองบทว่า อุปจาโร จ อุปฺปชฺชติ ความว่า และอุปจารสมาธิเมื่อข่มนิวรณ์เป็นต้นไป ก็ย่อมเกิดขึ้น ๆ นัยกรรมฐาน ๔๐ จบ ฯ [อธิบายอภิญญา ๕] สองบทว่า อภิญญาวเสน ปวตฺตมาน ความว่า รูปาวจรปัญจม ฌานนั่นแล ที่เป็นไปโดยอำนาจแห่งโลกิยอภิญญา ๕ มีอิทธิวิธีเป็นต้น ที่เรียกว่าอภิญญา โดยอรรถว่า รู้ยิ่ง คือ โดยพิเศษฯ หลายบทว่า อภิญญาปาทก ฯ เปฯ วุฏฺฐหิตวา ความว่า (เมื่อพระโยคี) ทรมาน (ฝึกหัด) จิต โดยอาการ ๑๔ อย่าง มีอนุโลมแก่กสิณเป็นต้น ทำให้ควร
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More