ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 407
พรรณนาความปริเฉทที่ ๕
[ข้อความเบื้องต้น]
ประกอบความว่า เบื้องหน้าแต่นี้ คือแต่การแสดงไขปัจจัยไป
ข้าพเจ้า (ชื่ออนุรุทธาจารย์) จักกล่าวกรรมฐาน คืออารมณ์ที่ชื่อว่า
เป็นกรรมฐาน เพราะเป็นเหตุที่ตั้งแห่งการประพฤติกรรมในภาวนา
๒ อย่าง และภาวนาวิธีที่ชื่อว่
าวิธีที่ชื่อว่าเป็นกรรมฐาน เพราะเป็นปทัสถาน
แห่งการทำความเพียงยิ่ง ๆ ขึ้นไปแม้ทั้ง ๒ อย่าง แห่งภาวนา ๒
ที่เรียกว่าสมถะ ด้วยอรรถว่า สงบนิวรณ์ทั้งหลายได้ และที่เรียกว่า
วิปัสสนา ด้วยอรรถว่า เห็นสังขาร โดยอาการต่างชนิด มีอาการไม่เที่ยง
เป็นต้น ตามลำดับ คือโดยลำดับแห่งสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนาฯ
ที่ชื่อว่าราคาจริต โดยวิเคราะห์ว่า จริต ได้แก่ความประพฤติกิริยาทั่วไป
คืออาการกำหนัด ฯ แท้โทสจริตเป็นต้นก็อย่างนี้ ฯ
[อธิบายจริตมีราคจริตเป็นต้น]
ๆ
บทว่า จริตสงฺคโห มีอรรถว่า การจัดรวมบุคคล ด้วยอำนาจ
จริตที่เป็นมูล ฯ แต่ความประพฤติ (ของบุคคล) มีได้ ๖๓ ประการ
ด้วยอำนาจจริตที่ระคนกันและ ฯ สมจริงดังคำที่ท่านอาจารย์กล่าวไว้
(ในนามรูปปริเฉท) ว่า
ભૈ
*พระธรรมวราลังการ ปัจจุบันเป็น สมเด็จพระวันรัต (จับ ฐิตธมฺโม ป.ธ. ๕)
วัดโสมนัสวิหาร พระนคร แปล ฯ