ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 182
อาจารย์นั้นแลกล่าวไว้ ในปรมัตถวินิจฉัย ในอธิการแสดงวิบาก
ที่ประกอบด้วยญาณ ไม่เป็นแก่บุคคลนี้ว่า
ญาณวิบากทั้งหลาย ย่อมไม่เป็นไปแก่ทวิเหตุกะ
และอเหตุกบุคคล เพราะมูลปฏิสนธิอ่อนแอ ฯ
แต่อาจารย์พวกอื่นพรรณนาว่า ตทาลัมพนะที่มีเหตุ ย่อมมีแก่
อเหตุกสัตว์ฉันใด แม้ตทาลัมพนะที่มีเหตุ ๓ ย่อมมีแก่ทวิเหตุกสัตว์
ฉันนั้นๆ ท่านอาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ก็การปฏิเสธวิบากที่ประกอบ
ด้วยญาณ โดยไม่มีผิดมติของอาจารย์เหล่านั้น ในปกรณ์อภิธัมมัตถสังคหะ
แม้นี้ ท่านพระอนุรุทธาจารย์กระทำไว้แล้วหมายเอกเฉพาะพวกอเหตุก
สัตว์เท่านั้น ๆ แต่บัณฑิตต้อง
ต้องพิจารณาเสียก่อนจึงยอมรับคำของอาจารย์
พวกอื่นนั้น เพราะไม่มีพระบาลีที่เป็นหลักในคำว่า ทุเหตุกตทาลัมพนะ
นั้น และเพราะการกำหนดจิต ท่านอาจารย์กล่าวเหตุในความไม่มีแห่ง
วิบากที่ประกอบด้วยญาณ โดยอำนาจแห่งเหตุที่ทั่วไปแก่ทุเหตุกะและ
อเหตุกสัตว์แม้ทั้ง ๒ แล้ว แสดงไว้เท่า ๆ กัน ฯ ก็การกล่าวบทว่า
สุคติย์ ในคำว่า ตถา ญาณสมฺปยุตฺตวิปากานิจ สุคติย์ นี้ โดยมุ่งถึง
อเหตุกสัตว์ฯ แต่คำว่า สุคติย์ นั้น มีการแสดงความเกิดแห่งทวิเหตุก-
วิบาก ในสุคติภูมินั้นนั่นแล เป็นประธาน ท่านอาจารย์อนุญาตไว้
แล้วโดยอรรถ (โดยอธิบาย) ฯ เพราะเหตุนั้น ท่านอาจารย์จึงได้กล่าว
คำมีอาทิว่า ทุคคติยมปน ดังนี้ 1
บทว่า ติเหตุเกสุ ความว่า บรรดาบุคคล 8 จำพวก
เป็นต้น มีเหตุ ๒ ด้วยอำนาจอโลภะ อโทสะ อโมหะ ที่สหรคต