ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 366
และ (ตามอำนาจ) แห่งอวิชชาและสังขารทั้ง ๒ ซึ่งท่านได้โดยการ
ประมวล (สงเคราะห์) ฯ คำว่า อายตี ผลปญฺจก ได้แก่ผล ๕ อย่าง
มีวิญญาณเป็นต้น ที่ท่านกล่าวไว้ด้วยศัพท์คือชาติชารและมรณะ ซึ่งจะ
เกิดในอนาคตจากปัจจัยคือปัจจุบันเหตุฯ
[อธิบายอาการ ๒๐ สนธิ ๓ และสังเขป ๔]
อาการมี ๒๐ อย่างนี้ คือเช่นนี้ ฯ เหตุเป็นต้น ชื่อว่าอาการ เพราะ
อรรถว่า ถูกกระจายเรี่ยรายไปในที่นั้น ๆ ในกาลมีอดีตกาลเป็นต้น ฯ
สนธิ ๓ อย่างนี้ คือ ในระหว่างอดีตเหตุและปัจจุบันผล ๕ เป็นสนธิ
อันหนึ่ง ในระหว่างปัจจุบันผล ๕ และปัจจุบันเหตุ เป็นสมาธิอันหนึ่ง
และในระหว่างปัจจุบันเหตุและอนาคตผล เป็นสนธิอันหนึ่ง ๆ สมจริง
ดังคำที่ท่านอาจารย์กล่าวไว้ว่า ในระหว่างสังขารและวิญญาณเป็นสนธิ ๑
ในระหว่างเวทนาและตัณหาเป็นสนธิ ๑ ในระหว่างภพและชาติเป็นสนธิ
9
๓ ก็
๑ ฯ จริงอยู่ บรรดาสนธิเหล่านั้น สนธิที่ ๑ เป็นความสัมพันธ์กัน
แห่งผลกับเหตุ เพราะผลเป็นไปไม่ขาดสายจากเหตุฯ สนธิที่ ๓
เช่นกันฯ ส่วนสนธิที่ ๒ เป็นความสัมพันธ์กันกับเหตุแห่งผล เพราะ
เหตุเป็นไปไม่ขาดสายจากผลฯ จริงอยู่ ธรรมแม้เป็นผล ก็เป็นปัจจัย
แก่กรรมอื่นซึ่งมีสภาพเป็นเหตุได้ ฉะนี้แล ฯ
เหตุเป็นต้นที่ชื่อว่าสังเขป เพราะอรรถว่า เป็นที่ที่พระผู้มีพระภาค
ทรงย่อมอดีตเหตุมีอวิชชาเป็นต้น และปัจจุบันผลมีวิญญาณเป็นต้นลงไว้ ฯ
สังเขป ๔ คือ อดีตเหตุ ๑ ปัจจุบันผล ๑ ปัจจุบันเหตุ ๑ อนาคตผล ๑