อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 300
หน้าที่ 300 / 442

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาในหน้าที่ 300 ของอภิธัมมัตถสังคหบาลีและอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา พูดถึงอายตนะของสัตว์ในทุคติว่ามีความแตกต่างกันในเรื่ององค์ประกอบของการรับรู้ และสามารถแบ่งเป็นกลุ่มตามลักษณะทางร่างกาย เช่น สัตว์บอด สัตว์หนวก รวมถึง สัตว์ที่ไม่มีฆานะ โดยนำเสนอแนวคิดที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถึงอายตนะของสัตว์เหล่านี้อย่างละเอียด นอกจากนี้ ยังพิจารณาถึงอิทธิพลของสะดวกในการรับรู้ที่ส่งผลต่อมโนธรรมและความรู้สึกของสัตว์ในโลกที่แตกต่างกัน.

หัวข้อประเด็น

-อายตนะของสัตว์
-อภิธัมมัตถ
-การรับรู้ในทุคติ
-อภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา
-สัตว์บอดและหนวก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 300 ปฐมกัลป์ ฯ แต่การไม่ได้จักขุ โสตะ และภาวรูปในทุคติ ด้วยสามารถ แห่งสัตว์ผู้เป็นสังเสทชะและอุปปาติกะ แม้ทั้ง ๒ พวก การไม่ได้ฆานะ ด้วยสามารถแห่งสังเสทชะพวกเดียว มิใช่ด้วยสามารถแห่งอุปปาติกะ ฯ จริงตามนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสอายตนะของอุปปาติกสัตว์ผู้มี อินทรีย์บริบูรณ์ว่ามี ๑๑ เว้นสัททายตนะ ของอุปปาติกะผู้บอกว่ามี ๑๐ เว้นจักขวายตนะ ของอุปปาติกะผู้หนวกว่ามี ๑๐ เหมือนกัน เว้น โสตายตนะ ของอุปปาติกะผู้ทั้งบอดทั้งหนวกว่ามี 8 เว้นจักขวายตนะ และโสตายนะทั้ง ๒ นั้น ของคัพภเสยยกสัตว์ว่ามี ๓ เว้นอายตนะคือ จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา และสัททายตนะ โดยบาลีในธรรมหทยวิภังค์ ว่า (ขันธ์ ๕ ย่อมปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก) ในขณะที่อุบัติในกาม ธาตุ อายตนะของสัตว์บางชนิดปรากฏมี ๑ ๑๑ บางชนิดมี ๑๐ บางชนิด อื่นอีกมี ๑๐ บางชนิดมี 8 บางชนิดมี ๒ ดังนี้ ดังนี้ ฯ ก็ถ้าอุปปาติกสัตว์ ที่ไม่มีฆานะ พึงมีไซร้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอายตนะ ๑๐ ไว้ ๓ หน ด้วยสามารถแห่งอุปาติกสัตว์ผู้บอด อุปปาติกสัตว์ผู้หนวก และอุปปาติกสัตว์ผู้ไม่มีฆานะ, 8 อายตนะ ๓ หน ด้วยสามารถแห่ง อุปปาติกสัตว์ผู้ทั้งบอดทั้งหนวก อุปปาติกะผู้ทั้งบอดทั้งไม่มีฆานะ และ อุปปาติกะผู้ทั้งหนวกทั้งไม่มีฆานะ และ 4 อายตนะ ด้วยสามารถแห่ง อุปปาติกะผู้ที่บอดทั้งหนวกทั้งไม่มีฆานะ ฯ แต่พระองค์ไม่ได้ตรัสไว้ อย่างนี้ ฯ เพราะฉะนั้น ความวิกลด้วยมานะจึงไม่มีแก่อุปปาติกสัตว์ ดังนี้แล ฯ อีกประการหนึ่ง พระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ในอรรถกถา ยมกปกรณ์ว่า อุปปาติกสัตว์ที่ไม่มีฆานะไม่มี ถ้ามี พระผู้มีพระภาค
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More