ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 293
ทวิปัญจวิญญาณ เพราะไม่มีความประกอบด้วยองค์ฌานอันเป็นปัจจัย
พิเศษ ในการให้รูปเกิด ย่อมยังรูปให้เกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้น ท่าน
อาจารย์จึงกล่าวว่า อรูป ฯ เป็น วขจิต ดังนี้ ฯ ก็ปฏิสนธิจิตและ
จุติจิต ไม่ใช่เป็นจิตดวงอื่น เพราะรวมอยู่ภายในภวังคจิต ๑๕ นั่นเอง
เพราะฉะนั้น ท่านอาจารย์จึงไม่ทำการยกเว้นจิตทั้ง ๒ ดวง ตามที่กล่าว
นั้น (ปฏิสนธิจิตและจุติจิตนั้น) ฯ ท่านไม่กระทำการยกเว้นไว้ก็จริง
ถึงกระนั้น ปฏิสนธิจิตย่อมไม่ยังรูปให้เกิดขึ้นได้ เพราะอาศัยวัตถุทรพล
ที่เว้นจากปัจฉาชาตปัจจัยและอันปัจจัยมีอาหารเป็นต้นไม่อุดหนุนเป็นไป
เพราะตนเป็นผู้จรมา และเพราะถือเอาฐานะแห่งรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
ดำรงอยู่ได้ด้วยกัมมชรูปทั้งหลาย ฯ
ส่วนในจุติจิต พึงทราบวินิจฉันว่า เพราะอรรถกถาจารย์กล่าวไว้
ในอรรถกถาก่อนว่า จุติจิตของพระขีณาสพเท่านั้น ย่อมไม่ยังรูป
ในเกิด เพราะท่านเป็นผู้มีความเป็นไปสงบดียิ่ง ในสันดานที่มีมูลแห่ง
วัฏฏะอันสงบระงับแล้ว ฯ แต่อาจารย์ทั้งหลายมีท่านอานันทาจารย์เป็นต้น
กล่าวว่า จุติจิตของสัตว์แม้ทุกจำพวกย่อมยังรูปให้เกิดขึ้นไม่ได้ๆ ก็บัณฑิต
พึงทราบวินิจฉัยของท่านอาจารย์เหล่านั้นโดยสังเขปตามนัยที่ท่านกล่าว
ไว้ในมูลฎีกาเป็นต้น (และ) โดยพิสดารตามนัยที่ท่านกล่าวไว้ใน
อภิธัมมัตถปกาสินีฎีกาฯ
คำว่า ปฐมภวงฺคมุปาทาย ความว่า จิต ๓๕ เกิดขึ้นอยู่จำเดิม
แต่ภวังค์ดวงแรก เกิดในลำดับแห่งปฏิสนธิจิตนั่นแบ ย่อมยังรูปให้
เกิดขึ้นได้ ฯ แต่จิตที่ตั้งอยู่แล้ว หรือกำลังแตกไป ย่อมไม่ยังรูปให้