อภิธัมมัตถในพระพุทธศาสนา อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 295
หน้าที่ 295 / 442

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอการวิเคราะห์คำว่า 'จิตที่ช่วยค้ำจุนอิริยาบถ' ในบริบทของอภิธัมมัตถ และอธิบายถึงความสำคัญของจิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะในเรื่องการหัวเราะและความสุขของบุคคลในระดับต่าง ๆ โดยอิงจากคำสอนของพระพุทธเจ้าและอาจารย์ทางพระอภิธรรม การอธิบายดังกล่าวช่วยให้เห็นถึงการทำงานของจิตในรูปแบบต่าง ๆ และการเชื่อมโยงระหว่างจิตกับผลของการกระทำ.

หัวข้อประเด็น

- จิตและอิริยาบถ
- โสมนัสในพระพุทธศาสนา
- ความสุขในจิต
- อภิธัมมัตถและการพิจารณา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 295 (พรากจากกันไม่ได้) ฯ เพื่อแสดงความพิเศษแห่งคำว่า "จิตที่ช่วย ค้ำจุนอิริยาบถและยังรูปให้เกิดขึ้น" นี้ ท่านอาจารย์จึงทำการถือเอา อิริยาบถและวิญญัติต่างหากจากรูป ฯ งหลายทรง คำว่า เตรส ความว่า โสมนัสชวนจิต ๑๓ คือ จากกุศล ๔ จากอกุศล ๔ จากกิริยา ๕ ฯ ปุถุชนย่อมหัวเราะด้วยกุศลจิตและ อกุศลจิต ๔ ฯ พระเสขะย่อมหัวเราะด้วยจิต ๖ เว้นจิตที่สหรคต ด้วยทิฏฐิ ฯ ส่วยพระอเสขะยิ้มแย้มด้วยกิริยาจิต ๕ ฯ แม้บรรดา กิริยาจิตที่สหรคตด้วยโสมนัสทั้ง ๕ นั้น เพราะพุทธเจ้าทั้งหล แย้มพระโอฐด้วยกิริยาจิตที่เป็นสเหตุกะ 4 เท่านั้น หาทรงแย้มด้วย อเหตุกจิตไม่ ฯ อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ก็เพราะพระบาลีว่า พระผู้ มีพระภาคพุทธเจ้า ผู้ทรงบรรลุพระญาณอันไม่ติดขัดในส่วนแห่งกาล มีอดีตกาลเป็นต้น ทรงประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่านี้ ทรงมี กายกรรมทุกอย่างมีพระญาณเป็นหัวหน้า เป็นไปตามพระญาณ ดังนี้ ความเป็นไปแห่งหสิตุปบาทจิตที่เว้นจากปัญญาเครื่องพิจารณาไม่สมควร แก่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเลย ฯ ก็เหตุแห่งการทรงแย้มของพระพุทธเจ้า ทั้งหลายเหล่านั้น แม้อันหสิตุปบาทจิตให้ทรงเป็นไปอยู่ ชื่อว่าเป็นไป ตามพระญาณทั้งนั้น เพราะเป็นไปตามปุพเพนิวาสญาณ อนาคตตั้งส ญาณ และสัพพัญญุตญาณ ฉะนี้ ฯ ก็เพราะกระทำอธิบายไว้ อย่างนี้ พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวไว้ในอรรถกถาว่า "จิตนี้ ย่อม บังเกิดในกาลที่สุดแห่งญาณทั้งหลายเหล่านั้น ที่ทรงประพฤติมาแล้ว " ฯ เพราะฉะนั้น ใคร ๆ ไม่อาจเพื่อจะห้ามความเป็นไปแห่งหสิตุปบาทจิตนั้น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More