ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 358
สามารถแห่งความที่ปัจจัยนั้น ๆ มีเหตุปัจจัยเป็นต้นปัจจัยนั้น ๆ แก่
ธรรมอื่นนั้น ๆ ดังนี้ จึงกล่าวว่า ที่เรียกว่า ปัฏฐานนัย ก็เพราะปรารภ
ถึงฐิติกล่าวคือปัจจัยต่างออกไปอีกรูปหนึ่ง ๆ แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
ฐิติที่พูดออกมากระทบ คือกระแทกที่ฐานกรณ์ทั้งหลาย มีคอและเพดาน
เป็นต้น ชื่อว่าอาหัจจปัจจัยฐิติ ฯ ก็คำนั้นย่อยประกาศความที่อาจารย์
เหล่านั้นเป็นผู้มีถ้อยคำน่าหัวเราะเยาะ โดยเพียงแต่ได้ยินเท่านั้น จริงอยู่
ปฏิจจสมุปบาทนัยก็ดี นัยอะไรอื่นก็ดี พระผู้มีพระภาคทางสามารถ
เพื่อจะแสดงไม่ให้กระทบที่ฐานกรณ์มีคอและเพดานเป็นต้นก็หาไม่
แล ฯ อนึ่ง ท่านอาจารย์ทั้งหลาย มีสังคาหกาจารย์เป็นต้น ผสม
คือผนวก แม้ซึ่งปัฏฐานนัยเข้าในปฏิจจสมุปบาทนั่นแล แล้วอธิบาย คือ
ขยายให้พิสดารเคล้าคละกันไปโดยภาวะแห่งธรรมที่มีปกติเกิดขึ้น โดยความ
เป็นแห่งปัจจัยธรรมนั้น และโดยอำนาจแห่งปัจจัยมีเหตุปัจจัยเป็นต้นฯ
อธิบายว่า ส่วนพวกข้าพเจ้าจักแยกแสดงไว้เป็นแผนก ๆ ทีเดียว ฯ
[อธิบายปฏิจจสมุปบาทนัยมีอวิชชาเป็นต้น]
ธรรมชาติที่ชื่อว่าอวิชชา เพราะอรรถว่า ไม่รู้ฯ อนึ่ง ธรรมชาติที่
ชื่อว่าอวิชชา เพราะอรรถว่า ประสบ คือได้พบสิ่งที่ไม่ควรประสบมีกาย
ทุจริตเป็นต้น หรือว่าไม่ประสบสิ่งที่ควรประสบมีกายสุจริตเป็นต้น
หรือไม่ทำสิ่งที่ควรรู้มีอริยสัจ ๔ เป็นต้นให้ปรากฏ ย่อมยังสัตว์ให้แล่น
ไปในสิ่งที่ไม่มีอยู่ (โดยปรมัตถ์) หรือไม่ให้แล่นไปในสิ่งที่มีอยู่
(โดยปรมัตถ์) ฯ คำว่า อวิชชา นี้ เป็นชื่อแห่งความไม่รู้ในอริยสัจ ๔
๔