ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา - หน้าที่ 158
[อธิบายการเห็นรูปของจักษุ]
"
บทว่า ภวงฺคโสต์ แปลว่า ห้วงแห่งภวังค์ฯ บทว่า อาวชฺเชนต์
คือทำการนึก ดุจกล่าวว่า นี้ชื่ออะไร ฯ บทว่า ปสฺสนต์ แปลว่า
เห็นโดยประจักษ์ฯ มีคำถามสอดเข้ามาว่า จักขุนทรีย์เท่านั้น ยัง
กิจคือการเห็นให้สำเร็จโดยพระบาลีว่า เห็นรูปด้วยนัยน์ตา ไม่ใช่
วิญญาณมิใช่หรือ ฯ แก้ว่า คำที่ท่านกล่าวนี้ไม่เป็นจริงอย่างนั้น เพราะ
รูปไม่สามรรถเห็นรูปได้ เพราะเป็นอายตนะมืด ก็ถ้าหากว่าจักขุนทรีย์
นั้น จะเห็นรูปได้ไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น จักขุนทรีย์แม้มีความ
พร้อมเพรียงด้วยวิญญาณอื่น จึงพ้องกันในการเห็นรูปฯ มีคำถาม
อีกว่า "ถ้าวิญญาณยังกิจคือการเห็นนั้นให้สำเร็จได้ วิญญาณก็จะพึง
เห็นรูปที่มีวัตถุอื่นคั่นได้ เพราะไม่ต้องเนื่องกับอะไร ๆ แก้ว่า การเห็น
รูปแม้ที่มีวัตถุอื่นคั่น จะมีได้หรือ (เพราะว่า) รูปใดที่ตั้งอยู่ภายใน
มีภายในแก้วผลึกเป็นต้นไม่เนื่องด้วยแสงสว่าง และรูปใดที่มีวัตถุอื่น
มีฝาเรือนเป็นต้นบังไว้ ถึงเนื่องด้วยแสงสว่างนั้น วิญญาณก็ไม่เกิดในรูป
ทั้ง ๒ นั้น เพราะไม่มีปัจจัยคือแสงสว่างนั้น เพราะเหตุนั้น การรับ
(การเห็น) รูปนั้น ด้วยจักขุวิญญาณจึงไม่มี " แต่ในพระบาลีว่า
จกฺขุนา นี้ มีอธิบายว่า การเห็นรูปด้วยทวารนั้น ซึ่งเป็นต้นเหตุ ฯ
อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า กิริยาคือการเห็นของวิญญาณผู้อาศัย พระผู้มี
พระภาคตรัสว่า เนื่องด้วยจักขุซึ่งเป็นที่อาศัย ดุจในประโยคว่า
เตียงโห่ ฯ