อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา: อเหตุกจิตและเจตสิก อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 79
หน้าที่ 79 / 442

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการวิเคราะห์และศึกษาเกี่ยวกับอเหตุกจิต ๑๘ และเจตสิกที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ธรรม ๑๒, ๑๑, ๑๐ และ ๒ เป็นฐานในการเข้าใจธรรมอย่างลึกซึ้งและช่วยให้ผู้ศึกษาสามารถทราบถึงความแตกต่างในการทำงานของเจตสิกที่ไม่มีการแยกจากจิต รวมถึงสังคหะและประเภทของเจตสิกตามที่อาจารย์ได้กล่าวไว้ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีความเข้าใจที่ถูกต้องในธรรม ๗ ที่เหลือ, ตามอำนาจของการคำนวณในธรรม.

หัวข้อประเด็น

-การศึกษาอภิธัมมัตถ
-อเหตุกจิต
-เจตสิก
-ธรรม ๑๒ และ ๑๑
-สังคหะ
-การแก้ปัญหาจิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

99 ๆ ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 79 ก็ในบรรดาอเหตุกจิต ธรรม ๑๒ ที่เป็นอัญญสมานาเจตสิก เว้น ฉันทะ ถึงการสงเคราะห์เข้าในสนจิตก่อน ฯ อนึ่ง (ธรรม ๑๑ เหล่า นั้น) เว้นฉันทะและปีติ ถึงความสงเคราะห์เข้าในโวฏฐวนจิต (ธรรม เหล่านั้น) เว้นฉันทะและวิริยะ ถึงการสงเคราะห์เข้าในสุขสันตีรณจิต (ธรรม ๑๐ เหล่านั้น) เว้นฉันทะ ปีติ และวิริยะ ถึงการสงเคราะห์เข้า ในอเหตุกมโนธาตุ ๓ และปฏิสนธิจิตทั้งคู่ (อุเบกขาสันตีรณจิต ๒), ธรรม (๒) เหล่านั้น เว้นปกิณณกเจตสิก ถึงการสงเคราะห์เข้าใน ทวิปัญจวิญญาณ ฯ ธรรมเหล่านั้นนั่นเอง ท่านประมวลเข้าไว้ฯ ใน อเหตุกจิต ๑๘ มีการประมวล โดยอาการ ๔ อย่างด้วยกัน ด้วยอำนาจ การคำนวณแม้โดยประการทั้งปวง ด้วยประการฉะนี้ [ สังคหคาถา] ในอเหตุจิตตุปบทา ๑๘ มีการสงเคราะห์ ๔ ประการ คือ ธรรม ๑๒-๑๑-๑๐ และ ๒ ฯ ธรรม ๗ ที่เหลือประกอบได้ในอเหตุกจิตตุป- บาททั้งหมด กทั้งหมด ตามสมควร, สังคหะ ๓๓ อย่าง ท่านอาจารย์กล่าวไว้ โดยพิสดารอย่างนี้ ฯ ผู้ ศึกษาทราบสัมประโยคและสังคหะ แห่งเจตสิก ที่ไม่แยกกันกับจิตอย่างนี้แล้ว จึงยกความต่าง แสดงประเภท (แห่งเจตสิก) ในเท่ากับจิต ตามควรแก่อันประกอบ ฉะนี้แล ฯ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More