อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 19
หน้าที่ 19 / 442

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้กล่าวถึงความหมายและลักษณะของจิตและเจตสิกตามพระอภิธรรม โดยอธิบายถึงอำนาจแห่งปรมัตถ์ที่ทำให้จิตเกิดขึ้นและรู้จักอารมณ์ โดยจิตถือเป็นธรรมชาติที่มีการรู้แจ้งอารมณ์เป็นลักษณะสำคัญ นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์ถึงอารมณ์ที่จิตต้องเผชิญอีกด้วย การเข้าใจลักษณะของจิตและเจตสิกจากมุมมองนี้จะช่วยให้บัณฑิตสามารถเข้าถึงความจริงในระดับสูงสุด ซึ่งเป็นพื้นฐานในการศึกษาอภิธรรมได้ดีขึ้น dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-อภิธัมมัตถสังคหบาลี
-อภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา
-ลักษณะจิต
-เจตสิก
-การวิเคราะห์จิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 19 รวบรวมไว้ ขึ้นแสดงโดยสังเขปก่อน จึงได้กล่าวคำเป็นต้นว่า ตตฺถ วุตฺตา ดังนี้ฯ ประกอบเนื้อความว่า อรรถแห่งพระอภิธรรม ที่พระผู้มีพระ ภาคเจ้าตรัสไว้ในพระอภิธรรมนั้น โดยประการทั้งปวง คือโดยอำนาจ แห่งธรรมมีกุศลเป็นต้น และโดยอำนาจแห่งสภาวธรรมมีขันธ์เป็นต้น ว่าโดยปรมัตถ์ คือด้วยอำนาจแห่งปรมัตถ์ที่แท้ เว้นสมมติเสีย ก็ตั้ง อยู่โดยประการ ๔ คืออาการ ๔ อย่าง ดังนี้ คือ จิต ได้แก่วิญญาณ ขันธ์ เจตสิก ได้แก่ขันธ์ทั้ง ๓ มีเวทนาขันธ์เป็นต้น รูป ได้แก่รูป- ขันธ์ อันต่างด้วยประเภทแห่งภูตรูป และอุปาทายรูป นิพพาน ได้แก่ อสังขตธรรม ที่ต่างเนื่องมาแต่มรรคผล ฯ ในทุติคาถานั้น บัณฑิต พึงกระทำวิเคราะห์อย่างนี้ อรรถอันไม่วิปริต ยอดเยี่ยมคือสูงสุด หรือ อรรถที่เป็นอารมณ์ของญาณอันเยี่ยม คือสูงสุด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปรมัตถ์ฯ โดยปรมัตถ์นั้นๆ [ลักษณะจิตและเจตสิก] ธรรมชาติที่ชื่อว่าจิต เพราะอรรถว่า คิด อธิบายว่า รู้อารมณ์ ฯ เหมือนอย่างที่ท่านอาจารย์กล่าวไว้ว่า จิตมีการรู้แจ้งอารมณ์เป็นลักษณะ ดังนี้ ฯ ฯ จริงอยู่ แม้เมื่อมีนิสัยปัจจัยและสมนันตรปัจจัยเป็นต้น จิตก็ เกิดขึ้นไม่เว้นจากอารมณ์ เพราะฉะนั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวความที่จิต นั้นมีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะ ฯ มติที่ว่า จิตไม่มีอารมณ์ ถูกอาจารย์
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More