ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 262
[สังคหคาถา]
ก็ บัณฑิต ผู้เห็นประจักษ์ ย่อมจำแนกรูป
ไว้แม้ ๒ อย่าง โดยความต่างแห่งรูป มี
อัชฌัตติกรูปเป็นต้น ตามสมควร ด้วย
ประการฉะนี้แล ฯ
นี้เป็นรูปวิภาคในรูปสังคหะ
[รูปสมุฏฐานนัย]
เหตุ ๔ ประการ คือ กรรม ๑ จิต ๑ ฤดู ๑ อาหาร 9 ชื่อว่า
สมุฏฐานแห่งรูป (เหตุเกิดแห่งรูป) บรรดาสมุฏฐาน ๔ เหล่านั้น จิต
ทั้ง ๒๐ คือ กามาวจรจิต ๒๐ และรูปาวจรจิต ๕ ที่กุศลกรรมและ
อกุศลกรรมตกแต่ง ย่อมยังรูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน ให้เกิดขึ้นทุก
ขณะ ๆ เริ่มต้นแต่ปฏิสนธิ ในอัชฌัตติกสันดาน (ความสืบต่อภายใน) ฯ
จิตทั้ง ๒๕ เว้นอรูปวิบากและทวิปัญจวิญญาณ เกิดขึ้นอยู่เริ่มต้นแต่
ปฐมภวังค์ทีเดียว ย่อมยังรูปมีจิตเป็นสมุฏฐานให้เกิดขึ้น ฯ บรรดาจิต
๓๕ นั้น อัปปนาชวนจิต ย่อมยังแม้อิริยาบถให้น้อมไปด้วยสม่ำเสมอ ฯ
ก็โวฏฐัพพนจิต กามาวจรชวนจิต และอภิญญาจิต ย่อมยังแม้วิญญัติให้
เกิดขึ้น ฯ ก็ในจิตเหล่านี้ โสมนัสสชวนจิต ๑๓ ย่อมยังแม้แสนจิตให้
เกิด ฯ เตโชธาตุที่ทราบกันดีว่าฤดูหนาว และฤดูร้อน (อากาศหนาว
และร้อน) ถึงฐิติขณะแล้ว ย่อมยังรูปอันมีฤดูเป็นสมุฏฐานให้เกิดขึ้น
ทั้งภายในทั้งภายนอก
ทั้งภายนอก ตามสมควร ฯ อาหารกล่าวคือโอชะที่ถึงฐานะ
แล้วแล ย่อมยังรูปมีอาหารเป็นสมุฏฐานให้ตั้งขึ้นในเวลากลืนกิน ฯ
บรรดารูปเหล่านั้น หทัยรูปและอินทรียรูป เกิดจากรรมเท่านั้น ฯ