ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 103
และถีนมิทธะ บางคราวเกิดขึ้นต่างกัน บางคราวเกิดรวมกัน (เกิดขึ้น
พร้อมกัน)ฯ บทว่า เสสา ได้แก่ เจตสิก ๔๑ นอกจากอนิยตเจตสิก
๑๑ ตามที่กล่าวแล้วฯ แต่ท่านเกจิอาจารย์พรรณนาไว้ว่า เยวาปนเจตสิก
ที่แน่นอน เหลือจากเยาวาปนเจตสิกที่ไม่แน่นอน ตามที่กล่าวแล้ว ฯ
คำนั้น เป็นเพียงมติของเกจิอาจารย์พวกนั้น เพราะเจตสิกบางเหล่า
ท่านอาจารย์มิได้ยกขึ้นไว้ในที่นี้ โดยชื่อว่าเยวาปนกะ ฯ ความจริง
ในที่นี้ ท่านอาจารย์ได้ทำการแสดงแต่เพียงเจตสิกที่ได้อยู่ในจิตตุปบาท
ตามสมควร ด้วยอำนาจเจตสิกที่แน่นอน และไม่แน่นอนอย่างเดียว
ไม่ได้ยกเจตสิกบางเหล่าขึ้นแสดงโดยชื่อว่าเยวาปนกะ ดังนี้แล ฯ
[อธิบายเจตสิกสัมประโยคกับจิต]
บัดนี้ เพื่อจะแสดงสัมประโยคด้วยอำนาจการกำหนดจิตว่า บรรดา
ธรรมมีผัสสะเป็นต้น ธรรมนี้มีได้ในจิตเท่านี้ดวง อย่างนี้ก่อนแล้ว จึง
แสดงการสงเคราะห์ด้วยอำนาจการกำหนดเจตสิกราสีว่า ในจิตตุปบาทนี้
มีเจตสิกได้เท่านี้ ท่านอาจารย์จึงกล่าวคำเป็นอาทิว่า สงฺคหญิจ ดังนี้ ฯ
ન
คำว่า ฉตุตึส เป็นต้น เป็นการสงเคราะห์ด้วยอำนาจการคำนวณ โดย
อำนาจแห่งธรรมที่ได้อยู่ในจิตนั้น ๆ ตามสมควร ฯ จิตทั้งหลายประกอบ
ในปฐมฌาน หรือว่าปฐมฌานนั้นมีอยู่แก่จิตเหล่านั้น เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ปฐมฌานิกจิต ฯ ท่านอาจารย์กล่าวคำว่า อปฺปมญฺญา
วชฺชิตา ดังนี้ เพราะอัปปมัญญามีสัตว์เป็นอารมณ์ และเพราะโลกุตตร
จิตมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ฯ ด้วยบทว่า ตถา นี้ ท่านอาจารย์ย่อมชัก