อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 46
หน้าที่ 46 / 442

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาประกอบด้วยการคำนวณจิตตามระบบอภิธัมมัตถะ โดยได้แสดงให้เห็นถึงการคำนวณจิตในลักษณะต่าง ๆ และอำนาจของกรรมที่มีผลต่อผลลัพธ์ เช่น กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม พร้อมด้วยการทำความเข้าใจในการแสดงออกของกามาวจรจิตที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีการอธิบายคำว่า 'กุศล' ว่ามีความหมายอย่างไรและทำไมจิตชนิดนี้จึงมีความสำคัญในการปฏิบัติธรรม

หัวข้อประเด็น

-การคำนวณจิต
-อำนาจอธิบดี
-กุศลจิต
-กามาวจรจิต
-อภิธัมมัตถะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 46 เอา ๔ คูณ ด้วยอำนาจอธิบดี ๔ เป็นจิต ๕๖๐ ถ้วน ด้วยการคำนวณ อย่างนี้ จึงรวมเป็นจิต ๑๖๘๐ ด้วยอำนาจอธิบดีฯ จิต ๑๖๘๐ เหล่านั้น เอา ๓ คูณ ด้วยอำนาจกรรม ๓ คือกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม จึงเป็นจิต ๕๐๔๐ ฯ และจิต ๕๐๔๐ นั้น เอา ๓ คูณ โดยความ ต่างแห่งทีนะ มัชฌิมะ และปณีตะ จึงเป็นจิต ๑๕๑๒๐ ๆ ส่วนคำที่ ท่านอาจารย์พุทธทัตตเถระกล่าวไว้ว่า บัณฑิตพึงแสดงไขออกไปว่า กามาวจร กุศลจิตมี ๑๒๒๘๐ ดังนี้ นั้น บัณฑิตพึงเห็นว่า ท่านอาจารย์มิได้คำนึงถึงการคำนวณที่ลดไป (ที่หักออก) ด้วยอำนาจอธิบดี กล่าวไว้ด้วยสามารถการนับอธิบดีที่ รวมไปในกระแสการคำนวณ ฯ แต่ว่า ความต่างกันแห่งกามาวจรจิต เหล่านั้น โดยความต่างแห่งกาละและเทศะเป็นต้น ไม่สามารถจะประ มาณ ได้เลย ฯ [อธิบายคำว่ากุศลเป็นต้น] จิตที่ชื่อว่ากุศล เพราะอรรถว่า ยังบาปธรรมอันน่าเกลียด ให้สะเทือน คือให้หวั่นไหว หรือเพราะอรรถว่า เบียดเบียน คือ รังควานบาปอันน่าเกลียดให้ปราศไป ๆ อีกอย่างหนึ่ง จิตที่ชื่อว่ากุศล เพราะอรรถว่า ย่อมปั่น คือย่อมตัดบาปธรรม ทั้งหลายที่บัณฑิตกล่าวกล่าวว่า กุสะ เพราะนอน คือเป็นไปในสันดาน โดยอาการที่บัณฑิตเกลียด ๆ อีกอย่างหนึ่ง จิตที่ชื่อว่ากุศล เพราะ อรรถว่า อันบุคคลพึงถือเอา คือพึงให้เป็นไปโดยภาวะ คือสหชาต
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More