อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 106 อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 106
หน้าที่ 106 / 442

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงเวทนาและอารมณ์ที่เกี่ยวข้องกับกามตัณหา การอธิบายถึงการต่างกันในประเภทของจิต ทั้งกุศล วิบาก และกิริยา โดยนำมาซึ่งการเรียนรู้และการเข้าใจในธรรมนั้น ๆ ผ่านการวิเคราะห์ธรรมในระดับต่าง ๆ งานนี้หลักการแห่งจิตและอารมณ์นั้น มีความแตกต่างชัดเจนในกรณีของฌานและกิริยาจิต ดังนั้น ธรรมที่ปรากฏในเนื้อหานี้เกี่ยวข้องกับการทำความเข้าใจในด้านจิตวิทยา และอภิธัมมาที่ต้องการให้ผู้ศึกษาและปฏิบัติธรรมสามารถเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงและความแตกต่างที่เกิดขึ้นในกระบวนการทางจิต.

หัวข้อประเด็น

-จิตและอารมณ์
-กามตัณหา
-ความแตกต่างของฌาน
-การวิเคราะห์ธรรมนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 106 ก็ฉันนั้น เหมือนกันกับนางทาสี ไม่ถืออารมณ์ที่กามาวจรกรรมนั้นถือ ถือเอาเฉพาะอารมณ์ของกามตัณหาเท่านั้น เพราะเนื่องด้วยกามตัณหา และ ฯ บทว่า ทุวสสธา คือ ในจิต ๓๓ สงเคราะห์โดยอาการ ๑๒ เพราะ การทำอธิบายว่า ในความต่างแห่งจิตที่เป้ฯกุศล วิบาก และกริยา (๓) มีการสงเคราะห์ เป็นทุกะ (คู่) อย่างละ ๔ ทุกะ ฯ บัดนี้ เพื่อจะแสดงธรรมที่ทำความต่างกันแห่งธรรมที่มีอยู่ในทุติย ฌานเป็นต้น จากธรรมที่มีในปฐมฌานเป็นต้น ในบรรดาเจตสิกธรรม เหล่านี้ ท่านอาจารย์จึงได้กล่าวคำว่า อนุตฺตเร ฌานธมฺมา เป็นอาทิฯ ฌานธรรมด้วยอำนาจ วิตก วิจาร ปีติ และสุข ในอนุตตรจิต มีความ แปลกกัน คือต่างกัน ๆ อัปปมัญญาและฌานธรรมในอมหัคคตจิตปาน กลางมีความแตกต่างกัน วิรัติ ญาณ และปีติกับอัปปมัญญา ในปริตตะ คือในกามาวจร มีความแปลกกัน ฯ จึงเห็นว่า บรรดาวิรัติเป็นต้นนั้น วิรัติทำให้วิบากและกิริยาแปลกจากกุศล อัปปมัญญาทำให้วิบากปลูก จากกุศลและกิริยา แต่ญาณและปีติ ทำให้คู่ที่ ๒ เป็นต้นแปลกจากจากคู่ ที่ ๑ เป็นต้น ในบรรดากุศลจิต วิบากจิต และกิริยาจิตทั้ง ๓ อย่าง ๆ สอง บทว่า ทุติเย อสงฺขาริเก เชื่อมความว่า ธรรม ๑๕ ที่มีชื่ออัญญสมานา และอกุศลสาธารณะอย่างนั้นนั่นแล กับโลภะและมานะ ย่อมถึงการ สงเคราะห์เข้าในอสังขาริกจิตที่ปราศจากทิฏฐิ ฯ บทว่า ตติเย คือ ใน อสังขาริกจิตที่ประกอบด้วยทิฏฐิ สหรคตด้วยอุเบกขา ฯ บทว่า จตฺตฺเถ คือ ในอสังขาริกจิตที่ปราศจากทิฏฐิ ฯ อธิบายว่า ก็อิสสมัจฉริยะ และกุกกุจจะ พึงจำแนกประกอบไว้ในอกุศลจิตเล่านี้เฉพาะด้วยหนึ่ง ๆ က
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More