ข้อความต้นฉบับในหน้า
အေ
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 330
แม้มีอยู่ในปัญจวิญญาณเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคไม่ทรงยกขึ้นเป็น
องค์ฌาน เพราะไม่มีอาการคือการเข้าไปเพ่ง เพราะปัญจวิญญาณเป็น
เพียงตกไปในอารมณ์ โดยเว้นจากวิตก ฯ แท้จริง พระผู้มีพระภาค
ตรัสองค์ฌาน มีวิตกเกิดความหลังฯ สมาธิแม้มีอยู่ในจิต ๑๖ ดวงนั้น
ก็ไม่ถึงความเป็นธรรมชาติมีกำลัง เพราะไม่มีความเพียงในจิต ๑๖ ดวง
ด้วยสามารถแห่งทวิปัญจวิญญาณ มโนธาตุ ๓ และสันติรณะ ๓ ฯ
สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า "พละมีความเพียงเกิดตามหลัง" ฯ
อนึ่ง ในพวกอเหตุกจิต ๑๘ ย่อมไม่ได้มักคังคะ เพราะเว้นจากเหตุฯ
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า มัคคังคะ (องค์มรรค) มีเหตุเกิด
ตามหลัง ดังนี้ จึงได้กล่าวคำเป็นต้นว่า ปญฺจวิญญาเณสุ ฯ เชื่อมความ
ด้วยคำว่า ไม่ได้องค์ฌานฯ ท่านอาจารย์ทำไว้ในใจว่า เอกัคคตาใน
จิตที่สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉา เป็นเพียงความหยุดอยู่แห่งจิต เพราะเว้น
จากอธิโมกข์ ไม่ถึงการเรียกว่ามิจฉาสมาธิ สมาธินทรีย์ และสมาธิพละ
จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ตถา วิจิกิจฉาจิตฺเต ฯ ท่านอาจารย์แสดงความ
ไม่มีแห่งอธิบดีในจำพวกจิตที่มีเหตุเดียว ด้วยทวิเหตุกศัพท์และติเหตุก-
ศัพท์ฯ อวธารณะในคำว่า "ชวเนเสฺวว" นี้ ท่านกระทำไว้ เพื่อ
แสดงว่า อธิบดีไม่มีการเกิดในจำพวกจิตที่เป็นโลกิยวิบาก ๆ จริงอยู่
จิตที่เป็นโลกิยวิบากเหล่านั้น ไม่ทำฉันทะเป็นต้นไว้ในเบื้องหน้าเป็นไป ฯ
ท่านอาจารย์หมายเอาอธิบดีที่ได้อยู่ เพราะอธิบดีคือวีมังสา ไม่เกิดใน
พวกทวิเหตุกชวนจิต และเพราะสมควรแก่ความเป็นไปของอุปนิสัยคือ
การปรุงแต่งจิต จึงกล่าวว่า ยถาสมุภวํ ฯ บัณฑิตย่อมได้อธิบดีเพียง
อย่างเดียวเท่านั้น เพราะเมื่อมีความเป็นอย่างอื่น (คือมี ๒ มี ๓) ก็ไม่