อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา สรุปมูลแห่งธรรม อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 313
หน้าที่ 313 / 442

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้เกี่ยวกับการศึกษาธรรมในอภิธัมมัตถสังคหบาลี ซึ่งได้กล่าวถึงองค์ฌาน ๕ อย่าง องค์มรรค ๕ อย่าง อินทรียธรรม ๑๖ ประการ และพลธรรม ๕ อย่าง รวมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับสติปัฏฐาน ๔ ประการ อาหารทางธรรม ๔ อย่าง สัมมัปปธาน ๔ และการบรรยายถึงอิทธิบาท ๔ และอินทรีย์ ๕ อย่างเพื่อให้เกิดความเข้าใจในบทบาทและความสำคัญของธรรมเหล่านี้ในชีวิตประจำวัน

หัวข้อประเด็น

-อภิธัมมัตถสังคหบาลี
-ธรรมที่สำคัญ
-พละ
-อินทรีย์
-สติปัฏฐาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 313 ธรรม เหตุท่านกล่าวไว้ 5 อย่าง องค์ฌาน กล่าวไว้ ๕ อย่าง องค์มรรคกล่าวไว้ ๕ อย่าง อินทรียธรรมกล่าวไว้ ๑๖ และพลธรรมกล่าว ไว้ ๕ อย่าง อธิบดีกล่าวไว้ ๔ อย่าง อาหารก็ อย่างนั้น (กล่าวไว้ ๔ อย่างเหมือนกัน) ฯ ในโพธิปักขิยสังคหะ พึงทราบสติปัฏฐาน ๔ คือ กายานุปัสสนา- สติปัฏฐาน ๑ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑ ฯ สัมมัปปธาน ๔ คือ เพียงละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ เพียงเพื่อระวังบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น ๑ เพียรยังกุศล ธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ๑ เพียรเพื่อความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป แห่ง กุศลธรรมที่เกิดแล้ว ๑ ฯ อิทธิบาท (คุณเครื่องให้สำเร็จความประสงค์) 4 อย่าง คือ ฉันทิทธิบาท อิทธิบาทคือฉันทะ ๑ วิริยิทธิบาท อิทธิบาทคือวิริยะ ๑ จิตติทธิบาท อิทธิบาทคือจิตตะ ๑ วิมังสิทธิบาท อิทธิบาทคือวีมังสา ๑ ฯ อินทรีย์ (ธรรมเป็นใหญ่) ๕ อย่าง คือ สัทธินทรีย์ อินทรีย์คือ ศรัทธา ๑ วิริยนทรีย์ อินทรีย์คือวิริยะ ๑ สตินทรีย์ อินทรีย์คือปัญญา ๑ ฯ สมาธินทรีย์ อินทรีย์คือสมาธิ ๑ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์คือปัญญา ๑ ฯ พละ (ธรรมเป็นกำลัง) ๕ อย่าง คือ สัทธาพละ กำลังคือ 0 ศรัทธา ๑ วิริยพละ กำลังคือวิริยะ ๑ สติพละ กำลังคือสติ ๑ สมาธิ พละ กำลังคือสมาธิ ๑ ปัญญาพละ กำลังคือปัญญา ๑ ฯ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More