อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 104
หน้าที่ 104 / 442

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงคำว่า อัญญสมานเจตสิก และโสภณเจตสิก ในอภิธัมมัตถสังคหและอภิธัมมัตถวิภาวีนี โดยวิเคราะห์ธรรมที่เกี่ยวข้องกับอุเบกขาและความสงเคราะห์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในจิต ซึ่งเกี่ยวพันกับฌานหมวด ๕ และการดำเนินจิตในอีกหลายแง่มุม เพื่อให้เข้าใจถึงความสามารถในการควบคุมจิตอย่างลึกซึ้งและการเจริญธรรมในระดับที่สูงขึ้น

หัวข้อประเด็น

-อภิธรรมในจิต
-เจตสิกและอุเบกขา
-ฌานและความสงเคราะห์
-การควบคุมจิต
-การเจริญธรรมในอภิธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สหรคต ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 104 มาซึ่งคำว่า อัญญสมานเจตสิก และโสภณเจตสิก เว้นอัปปมัญญา ย่อม ถึงการสงเคราะห์เข้าฯ บทว่า อุเปกขาสหคตา ได้แก่ ธรรมที่สหร ด้วยอุเบกขา ซึ่งเข้าร่วมฐานแห่งสุข เว้นเสียจากวิตกวิจารปีติและสุขฯ บทว่า ปญฺจกชุฌานวเสน ความว่า ตามอำนาจแห่งฌานหมวด ๕ ที่ ทรงแสดงด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้มีฌานไม่แก่กล้านัก ซึ่งเจริญผ่านวิตก และวิจารไปเป็นองค์ ๆๆ อธิบายว่า แต่มีการสงเคราะห์ 4 อย่างด้วยกัน เพราะธรรมที่เว้นจากวิตกวิจารเกิดในจิตที่ประกอบในฌานที่ ๒ ได้ ตามอำนาจฌานหมวด ๔ ที่ทรงแสดงด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้มีญาณ แก่กล้า ซึ่งเจริญผ่านวิตกและวิจารเหล่านั้นไปพร้อม ๆ กัน ฯ ธรรม ๓๓ คู่ ได้ในจิตที่ประกอบในฌานที่ ๔ และที่ ๕ ฯ บทว่า ตสุ คือ ๓ อย่าง ด้วยอำนาจกุศล วิบาก และกิริยา ฯ มหัคคตฌานทั้งหลายย่อมเป็น ไปโดยเพียงแต่ความตั้งมั่นแห่งจิตอย่างเดียว แก่บุคคลผู้มีกายประโยค แต่หา และวจีประโยคอันตนให้หมดจดดีแล้วด้วยอำนาจแห่งศีลวิสุทธิ เป็นไปด้วยอำนาจการชำระกายกรรมและวจีกรรมให้หมดจดไม่ ทั้งไม่ เป็นไปด้วยอำนาจการตัดทุจริต และการเลี้ยงชีพผิดทางได้เด็ดขาด เพราะฉะนั้น ท่านอาจารย์จึงได้กล่าวว่า วิรติวชชา ดังนี้ ฯ บทว่า ปจฺเจกเมว คือเป็นแผนก ๆ ฯ บทว่า ปณฺณรสสุ ได้แก่ ในจิต ๑๕ คือในจิต ๓ ด้วยสามารถแห่งรูปาวจรจิต ในจิต ๑๒ ด้วยสามารถแห่ง อรูปาวจรจิต ฯ เหตุในคำว่า อปฺปมญฺญาโย น ลพฺภนฺติ นี้ ข้าพเจ้า ได้กล่าวแล้ว ฯ บทว่า ปจฺเจกเมว คือ เฉพาะอย่างหนึ่ง ๆ ๆ จริงอยู่ อัปปมัญญา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More