ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 43
ถึงความทุกข์มีทุกข์ในอบายเป็นต้น และจากจิตที่ชื่อว่าอเหตุกะ เพราะ
ไม่มีการสัมประโยคกับเหตุ มีประมาณ ๕๓ ด้วยสามารถแห่งกามา-
วจรจริต ๒๔ มหัคคตจิตและโลกุตตรจิต ๓๕ อีกอย่างหนึ่ง จิตทั้ง ๕๑
เพราะแบ่งโลกุตตรจิต ๘ เฉพาะดวงหนึ่ง ๆ ออกไปเป็นอย่างละ ๕ ๆ
โดยความต่างแห่งการประกอบด้วยองค์ฌาน พระผู้มีพระภาคทรงเรียก
คือตรัสเรียกว่า โสภณะ เพราะนำคุณอันงามมา และเพราะสัมประโยค
ด้วยเหตุที่ไม่มีโทษมีอโลภะเป็นต้น เพราะมีการนำคุณอันงามนั้นมาเป็น
เหตุ
៨
บัดนี้ ท่านพระอนุรุทธาจารย์หวังจะแสดงกามาวจรกุศลจิตก่อน
ต่อแต่นั้นแสดงวิบากของกามาวจรจิต และในลำดับนั้น แสดงกิริยาจิต
ที่นับเนื่องในภูมิอันเดียวกันกับวิบากจิต โดยหมวด ๘ ด้วยความต่าง
แห่งเวทนา ญาณ และสังขาร เป็นแผนก ๆ เพราะในบรรดาโสภณ
จิต ท่านยกกามาวจรเท่านั้นขึ้นแสดงก่อน และเพราะแม้ในบรรดา
กามาวจรจิต อัพยากตจิต ก็มีกุศลจิตเป็นเบื้องต้น จึงกล่าวว่า
โสมนสฺสสหคติ ดังนี้เป็นต้นฯ
ในคำว่า โสมนสฺสสหคติ เป็นต้น นั้น พึงทราบอธิบายดังนี้ ฯ
ธรรมชาติที่รู้ คือแทงตลอดตามสภาพ ชื่อว่าญาณ ฯ คำอันเศษมีนัย
ดังกล่าวแล้วนั่นแลฯ ก็ในอธิการว่าด้วยกุศลจิตนี้ บัณฑิตพึงทราบ
ความที่จิตประกอบด้วยโสมนัส ด้วยเหตุหลายประการเป็นต้นว่า ด้วย
ศรัทธาแก่กล้า ด้วยความเห็นอันบริสุทธิ์ และด้วยความพร้อมบริบูรณ์
แห่งปัจจัยและปฏิคาหกเป็นต้น และพึงทราบความที่จิตสัมปยุตด้วย
๑-๑. เฉลยสนามหลวง พ.ศ. ๒๔๕๒, ๒๕๑๙,