ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 220
เป็นต้นเหล่านั้น ชื่อว่าปาณะ โดยโวหาร ได้แก่สัตว์ โดยปรมัตถ์
ได้แก่ชีวิตินทรีย์ ฯ เจตนาคิดจะฆ่าของคนผู้มีความสำคัญในสัตว์มีชีวิต
นั้นว่า สัตว์มีชีวิต ซึ่งยังความพากเพียรจะเข้าไปตัดรอนชีวิตนทรีย์ให้
เกิดขึ้น ชื่อว่าปาณาติบาต ฯ เจตนาคิดจะลักของคนผู้มีความสำคัญใน
ของ ๆ คนอื่นว่า เป็นของ ๆ คนอื่นอย่างนั้น ซึ่งยังความพยายาม
ที่จะลักของนั้นให้เกิดขึ้น ชื่อว่าอทินนาทาน ฯ เจตนาคิดจะล่วงฐานะ
ที่ไม่ควรถึง ด้วยอำนาจการเสพอสัทธรรม ซึ่งเป็นไปทางกายทวาร
ชื่อว่ากาเมสุมิจฉาจาร ฯ อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า "แม้การดื่มสุรา
ท่านก็สงเคราะห์เข้าในบทว่า กาเมสุมิจฉาจารนี้เหมือนกัน" เพราะเป็น
การประพฤติผิดในกาม กล่าวคือรส ฯ
สองบทว่า กายวิญฺญตฺติสงฺขาเต กายทวาร ความว่า เพราะ
ประพฤติเป็นส่วนมากในทวารแห่งกรรม กล่าวคือกายวิญญัติ เพราะให้
ผู้อื่นรู้ความประสงค์ด้วยกาย และตนเองก็รู้ได้ด้วยกาย คือเป็นวิการ
แห่งกองที่ยิ่งด้วยวาโยธาตุ ซึ่งเกิดแต่จิตที่ให้เกิดความคิดจะก้าวไป
ข้างหน้าเป็นต้น เป็นเหตุทำผลร่วมกันแก่การค้ำจุนเป็นต้น กล่าวคือ
กายทวาร เพราะเป็นโจปนกาย และเพราะเป็นปากทางแห่งความ
ન્
ๆ เท่า
เป็นไปของกรรมทั้งหลาย ฯ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยกรรมนั้น
นั้น ย่อมยังวิญญัตินั้นให้เกิดขึ้นได้ แม้โดยแท้ ถึงอย่างนั้น เมื่อ
วิญญัตินั้นเป็นไปอยู่ กรรมที่ยังวิญญัตินั้นให้เกิด ก็มีชื่อว่ากายกรรม
เป็นต้น (คือเรียกชื่อว่ากายกรรมเป็นต้น) เพราะฉะนั้น วิญญัตินั้น
ท่านจึงได้เพื่อจะกล่าวโดยความเป็นปากทางแห่งความเป็นไปของกรรม