อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 47 อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 47
หน้าที่ 47 / 442

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงการทำความเข้าใจลักษณะของกุศลจิตและกรรม โดยให้เห็นถึงความแตกต่างของวิบากตามแต่ละสาเหตุ รวมถึงอิทธิพลของความสามารถแห่งกรรมและความเพียรพยายามในการนับ ซึ่งมีความสำคัญในการศึกษาพุทธวจนเพื่อพัฒนาจิตใจ บริบทที่กล่าวถึงเชื่อมโยงกับความเชื่อและความเข้าใจในทางจิตวิญญาณและธรรมชาติของการทำกรรม

หัวข้อประเด็น

-กุศลจิต
-กรรม
-อภิธรรม
-วิบาก
-ญาณสัมปยุต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 47 และอุปนิสัย ตามสมควร ด้วยญาณคือกุสะ หรือด้วยธรรมชาติมีศรัทธา เป็นต้น เพราะถาก คือถาง หรือเพราะกระทำบาปธรรมที่น่าเกลียด ให้เบาบางลง หรือเพราะทำให้จมลงฯ กุศลเหล่านั้นแหละ ชื่อว่า กามาวจร และชื่อว่าจิต เพราะอรรถตามที่กล่าวแล้ว เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า กามาวจรกุศลจิต ฯ แต่ว่ากุศลจิตเหล่านี้ย่อมเป็นไปด้วย สามารถแห่งบุญกิริยา ด้วยสามารถแห่งกรรมทวาร ด้วยสามารถแห่ง กรรม และด้วยสามารถแห่งอธิบดีฉันใด วิบากย่อมไม่เป็นไปฉันนั้น เพราะไม่เป็นไปด้วยสามารถแห่งทานเป็นต้น เพราะไม่ให้พฤติกรรมทำฉันทะ เป็นต้นให้ออกหน้า เพราะฉะนั้น บัณฑิตจึงลดการนับด้วยอำนาจแห่ง ความไม่เป็นไปแห่งทานเป็นต้นนั้นลงแล้ว พึงประกอบความแตกต่าง กันแห่งการนับ ตามสมควร ฯ สเหตุกกามาวจรวิบากแม้เหล่านี้ สหรคตด้วยโสมนัสและ อุเบกขาตามลำดับ ด้วยสามารถแห่งอิฏฐารมณ์ และอิฏฐมัชฌัตตารมณ์ เป็นญาณสัมปยุต และญาณวิปยุต ในกาลที่เป็นไปด้วยสามารถแห่ง ปฏิสนธิเป็นต้น โดยความที่กรรมมีกำลังและไม่มีกำลัง ในกาลที่เป็นไป ด้วยตทาลัมพะ เป็นไปโดยสมควรแก่ชวนะโดยมาก และแม้ในเวลา ที่เป็นไปกับด้วยตทาลัมพนะนั้น บางครั้งก็เป็นไปโดยอนุรูปแก่กรรม ฯ เป็นอสังขาริกและสสังขาริก โดยปัจจัยมีกรรมเป็นต้น ตามที่ปรากฏ เว้นความประกอบตามสมควร และการประกอบกัน และด้วยสามารถ แห่งปัจจัยที่สบายแลไม่สบาย มีฤดูและโภชนะเป็นต้นฯ บัณฑิต
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More