อภิธัมมัตถสังคหบาลีและอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 421
หน้าที่ 421 / 442

สรุปเนื้อหา

ในเนื้อหานี้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างจิตและอารมณ์ในอภิธัมมาฯ โดยเฉพาะในเรื่องของปรจิตตวิชชาที่ประกอบด้วยจิตในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต การวิเคราะห์และการตีความจากพระอาจารย์หลายท่านเกี่ยวกับความหมายของจิตและอารมณ์ที่เข้ามาในระบบของอภิธรรมจะถูกโยงเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อแสดงให้เห็นถึงการดำเนินการทางจิตของขันธ์ ๕ รวมถึงการไม่แยกแยะอารมณ์ระหว่างปัจจุบันกับอดีตในทางจิต เพื่อที่จะเข้าใจได้ดีขึ้นในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม พระอาจารย์ผู้รจนาอรรถกถาก็เน้นว่าอารมณ์ของจิตมีความสำคัญต่อการฝึกฝนทางจิตในภาวะที่แตกต่างกัน

หัวข้อประเด็น

-อภิธัมมาฯ
-จิตและอารมณ์
-ความสำคัญของการฝึกจิต
-ความสัมพันธ์ในเวลา
-ปรจิตตวิชชา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ๆ l ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 421 ที่เป็นบาทเป็นต้นนั้น ฌานที่เป็นบาท เป็นอดีตเท่านั้น กายเป็นปัจจุบัน อารมณ์นอกนั้นมีรูปเป็นต้น เป็นปัจจุบันบ้าง เป็นอนาคตบ้าง ฯ ส่วน ทิพพโสต มีเสียงอย่างเดียวเป็นอารมณ์ ฯ ก็แล เสียงนั้นเป็นปัจจุบัน ฯ พระอาจารย์ผู้รจนามหาอรรถกถากล่าวว่า ปรจิตตวิชชาญาณ มีจิตเป็นไป ในกาล ๓ ในพวกกามาวจรจิตเป็นต้นดวงใดดวงหนึ่ง ซึ่งเป็นไปในอดีต ๗ วัน และในอนาคต ๓ วัน เป็นอารมณ์ ฯ แต่พระอาจารย์ผู้รจนาอรรถ กถาสังคหะกล่าวว่า ขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ของปรจิตตวิชชา ดังนี้บ้าง ฯ ถามว่า ก็ความที่ปรจิตตวิชชานั้น มีจิตปัจจุบันเป็นอารมณ์อย่างไร ? อารมณ์ที่อาวัชชนะถือเอาแล้วเท่านั้น เป็นอารมณ์ของจิตที่ประกอบ ด้วยฤทธิ์ตลอด ๗ วัน เมื่ออาวัชชนะทำจิตปัจจุบันเป็นอารมณ์แล้วดับไป อยู่ แม้จิตของคนอื่นก็ดับเวลาเดียวกับอาวัชชนะนั้นเหมือนกัน เพราะ ฉะนั้น ความที่อาวัชชนะและชวนะ มีอารมณ์อย่างเดียวกัน ด้วยอำนาจ กาลไม่น่าจะพึงมีได้ ? อนึ่งเล่า ความที่ชวนและอาวัชชนะในวิถีอื่นจาก มรรควิถีและผลวิถีมีอารมณ์ต่างกัน โดยประการไร ๆ ก็ตามที่ พระผู้มี พระภาคเจ้าก็มิได้ทรงประสงค์เอาแล้ว ฯ แก้ว่า ในอรรถกถาท่านประ กอบความที่ปรจิตตวิชชานั้นมีปัจจุบันจิต โดยสันตติและอัทธานะเป็น อารมณ์ก่อนฯ ส่วนท่านอานันทาจารย์กล่าวว่า พระโยคาวจรออกจาก ฌานที่เป็นบาทแล้ว ไม่จำแนกอารมณ์เป็นปัจจุบันเป็นต้น ทำบริกรรม ว่า เราจะรู้จิตของคนนี้ ดังนี้ อย่างเดียวเท่านั้น แล้วเข้าฌานที่เป็น บาทอีก ออกแล้วนึกถึงจิตโดยอาการไม่แปลกกันนั่นแล ในลำดับแห่ง ๑. กาญจีติ เกนจิ ปกาเรน การเณน วา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More