การอธิบายอนุปัสสนา ๓ ในอภิธัมมัตถสังคหบาลี อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 435
หน้าที่ 435 / 442

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับอนุปัสสนา ๓ ในอภิธัมมัตถสังคหบาลี โดยระบุถึงการหลุดพ้นจากอัตตาและความทุกข์ ซึ่งรวมถึงการปล่อยวางในสังขารที่เป็นไปไม่ได้ และการเห็นจริงต่อความไม่เที่ยงและทุกข์ โดยอธิบายการเข้าถึงวิโมกข์ที่เกิดจากการมีความเห็นที่ถูกต้องต่อธรรมชาติของสังขาร. สาระสำคัญของอนุปัสสนา ๓ นี้นำไปสู่ความเข้าใจในทางแห่งความหลุดพ้นที่เป็นโลกุตตระ ผ่านการละทิ้งความยึดมั่นและการปรารถนา.

หัวข้อประเด็น

-อนุปัสสนา ๓
-ความหลุดพ้น
-อัตตา
-ทุกข์
-วิปัลลาส

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 435 [อธิบายอนุปัสสนา ๓] -и บทว่า ตตฺถ คือ (อนัตตานุปัสสนาที่กล่าวไว้) ในอุเทศนั้น ฯ อนุปัสสนาที่เป็นไปว่า มิใช่อัตตา (ตัวตน) นั่นแล ปล่อยวางความ ยึดมั่นในสังขารทั้งหลายว่าเป็นอัตตา (ตัวตน) คือความยึดมั่น ได้แก่ ความถือมั่นอย่างนี้ว่า อัตตา (ตัวตน) เรานี้แหละ เป็นผู้กระทำกรรม และเป็นผู้เสวยผลของกรรม ดังนี้ ชื่อว่าสุญญตานุปัสสนา เพราะ ตามเห็นโดยอาการคือว่างจากอัตตา (ตัวตน) เป็นวิโมกขมุข (ทาง แห่งความหลุดพ้น) คือเป็นประตูแห่งมรรคผลที่เป็นโลกุตตระ กล่าว คือวิโมกข์ ด้วยอำนาจความพ้นไปจากธรรมที่เป็นข้าศึก ฯ สัมพันธ์ ความว่า อนุปัสสนาที่เป็นไปในสังขารทั้งหลายว่าไม่เที่ยง ปล่อยวาง คือละวิปัลลาสนิมิต ที่เรียกว่าสัญญาวิปัลลาส จิตตวิปัลลาส และ ทิฏฐิวิปัลลาส ซึ่งเป็นไปในสังขารที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ชื่อว่าอนิมิตตานุ ๆ ปัสสนา เพราะตามเห็นอาการที่เว้นจากนิมิต คือวิปัลลาส จัดเป็น วิโมกขมุข (ทางแห่งความหลุดพ้น) ฯ อนุปัสสนาที่เป็นไปว่าเป็นทุกข์ ปล่อยวางปณิธิคือตัณหา ได้แก่ความปรารถนาคือตัณหา ที่เรียกว่า กามตัณหา และภวตัณหา ที่เป็นไปในสังขารทั้งหลาย โดยนัย เป็นต้นว่า สิ่งนี้ของเรา ความสุขนี้ของเรา คือสละเสียโดยเห็นอาการ ที่เป็นทุกข์ ชื่อว่าอัปปณิหิตตานุปัสสนา เพราะตามเห็นอาการที่เว้น จากความปรารถนา จัดเป็นวิโมกขมุข (ทางแห่งความหลุดพ้น) ฯ บทว่า ต มา ความว่า เพราะคำว่า อนัตตานุปัสสนาเป็นต้น ทั้ง ๓ นี้ เป็นชื่อแห่งสุญญาตานุปัสสนาเป็นต้นทั้ง ๓ เหล่านี้ เพราะ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More