อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 114
หน้าที่ 114 / 442

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาในหน้าที่ 114 แสดงถึงการศึกษาจิตในทวารต่างๆ โดยแบ่งหมวดหมู่ของจิตและอารมณ์ตามประเภทต่างๆ รวมทั้งการอธิบายถึงวิญญาณและอารมณ์ที่สัมพันธ์กัน พร้อมการยกตัวอย่างจิตและอารมณ์ในทวารเฉพาะ เช่น จักขุทวารและโสตทวาร โดยสดับและพิจารณาถึงความสำคัญของแต่ละอารมณ์ในปัจจุบันและอดีต ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับนิพพานและการทำกรรมต่างๆ และยังมีการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างจิตและอารมณ์ที่แสดงออกในชีวิตประจำวัน

หัวข้อประเด็น

-การศึกษาอภิธรรม
-การวิเคราะห์จิต
-อารมณ์และวิญญาณ
-ทวารต่างๆ
-ความสัมพันธ์ระหว่างจิตและอารมณ์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

9 ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 114 0 [สังคหคาถา] บัณฑิตพึงแสดงจิตที่เป็นในทวารเดียว ๑ ที่ เป็นไปในทวารทั้งห้า ๑ ที่เป็นไปในทวารทั้งหก ที่เป็นไปในทวารทั้ง ๖ บางคราวพ้นจาก ทวาร ๑ ที่พ้นจากทวารโดยประการทุกอย่าง ๑ โดยประการ ๕ อย่าง คือจิต ๓๖-๓-๓๑-๑๐ และ ๕ ตามลำดับ ન્ ชื่อว่าอารมณ์ ในอาลัมพนสังคหะ มี 5 อย่าง คือ รูปารมณ์ ๑ สัททารมณ์ ๑ คันธารมณ์ ๑ รสารมณ์ ๑ โผฏฐัพพารมณ์ ๑ ธัมมารมณ์ ๑ ฯ บรรดาอารมณ์เหล่านั้น รูปนั่นแล ชื่อว่ารูปารมณ์ เสียงเป็นต้น ชื่อว่าสัททารมณ์เป็นต้น ก็อย่างนั้น ๆ ส่วนธัมมารมณ์ท่านสงเคราะห์ไว้ 5 อย่าง ด้วยอำนาจ ปสาทรูป ๑ สุขุมรูป ๑ จิต ๑ เจตสิก ๑ นิพพาน ๑ บัญญัติ ๑ ฯ บรรดาอารมณ์เหล่านั้น จิตที่เป็นไปในจักขุทวารแม้ทั้งหมด มีรูปเท่านั้นเป็นอารมณ์ และรูปนั้นเฉพาะที่เป็นปัจจุบัน ฯ เสียงเป็นต้น เฉพาะที่เป็นปัจจุบันเท่านั้น เป็นอารมณ์แม้ของจิตมีจิตที่เป็นไปทาง โสตทวารเป็นต้น ก็อย่างนั้น ๆ ส่วนจิตที่เป็นไปทางมโนทวาร มี อารมณ์ ๖ อย่าง เป็นปัจจุบัน อดีต อนาคต และกาลวินิมุต ตาม สมควร ฯ แต่จิตที่พ้นจาก นจากทวาร คือปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และจุติจิต มีอารมณ์แม้ทั้ง 5 อย่าง ที่ทวาร ๖ ถือเอาในภพอื่น เป็นปัจจุบันและ อดีตโดยมาก ตามสมควรแก่การสมภพ หรือเป็นบัญญัติที่เรียกกันว่า กรรม กรรมนิมิต และคตินิมิตฯ บรรดาจิตเหล่านั้น จักขุวิญญาณ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More