ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 416
ในวิหารที่สมควร ซึ่งประกอบด้วยองค์ ๕ ตัดปลิโพธเล็ก ๆ น้อย ๆ
มีการปลงผลและตัดเล็บเป็นต้น แล้วกระทำดวงกสิณเป็นต้นข้างหน้า
ๆ
ตั้งจิตไว้ที่ลมหายใจเข้าออก และโกฏฐาสะ (กายคตรสติ) เป็นต้น
นั่นกำหนดนิมิตในอารมณ์นั้น
นั้น ๆ มีปฐวีกสิณเป็นต้น ตามลำดับแห่ง
ภาวนานั้น ๆ โดยนัยเป็นต้นว่า ดิน ๆ ๆ วิธีที่จะพึงปฏิบัติพอเป็น
สังเขปในที่นี้ เท่านี้ ฯ ส่วนวิธีนี้ บัณฑิตจึงถือเอาโดยพิสดารจาก
ปกรณ์วิสุทธิมรรคตอนแสดงเรื่องภาวนา ๆ จริงอยู่ ภาวนาวิธีแม้ทั้ง
๒ อย่าง ท่านอาจารย์กล่าวไว้โดยสังเขปเหลือเกินในที่นี้ ๆ ก็เมื่อ
พวกเรานำนัยพิสดารมา เพื่อแสดงอรรถแห่งภาวนาวิธีนั้น ก็จะมีการ
ชักช้ามากเกินไป เพราะฉะนั้น พวกเราจักไม่ให้ภาวนาวิธีนั้นพิสดารนักฯ
[อธิบายความต่างกันแห่งนิมิต
คำว่า ยทา ฯ เป ฯ สมุคุคหิต ความว่า บริกรรมนิมิตนั้นเป็น
ธรรมชาตที่จิตกำหนดแล้วโดยชอบ ด้วยอำนาจภาวนาตามลำดับที่เป็น
ไปแล้วตามนัยที่กล่าวไว้อย่างนี้ในเวลาใด ๆ สองบทว่า มโนทวารสุส
อาปาถมาคต์ ความว่า เมื่อพระโยคีหลับตาเสีย หรือไปในที่อื่นมนสิการ
อยู่ นิมิตเป็นเหมือนดวงกสิณทีเดียว มาสู่คลองแห่งชวนะที่เป็นไปใน
มโนทวาร (ย่อมมีในเวลานั้น) ฯ บทว่า สมาธิยติ ความว่า ภาวนา
ย่อมตั้งมั่นตามที่ได้บรรลุจิตเตกัคคตาโดยพิเศษ ฯ แม้บุคคลที่เป็นผู้ตั้ง
มั่นเหมือนกัน ด้วยอำนาจความตั้งมั่นแห่งจิต เพราะฉะนั้น ท่านอาจารย์
จึงกล่าวว่า ตถาสมาหิตสฺส ฯ บทว่า ตปปฏิภาค คือ อารมณ์เป็น
๑. แปลตามนัยโยชนาฯ