อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้า 59 อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 59
หน้าที่ 59 / 442

สรุปเนื้อหา

บทนี้นำเสนอการก้าวล่วงอารมณ์ในอภิธัมมะที่เกี่ยวข้องกับโคจร ๔ ประการซึ่งรวมถึงอากาศและวิญญาณ โดยให้ความสำคัญกับการเข้าใจในหัวข้อของอรูปาวจรจิตและโลกุตตรกุศลจิต เช่น สมาบัติและการประกอบด้วยมรรค ๔ และผล ๔ การศึกษานี้มีเป้าหมายเพื่อให้เข้าใจถึงความหมายและการประยุกต์ใช้อย่างลึกซึ้งในบริบทแห่งจิตวิญญาณเพื่อการปฏิบัติที่ถูกต้องในเรื่องอภิธรรม

หัวข้อประเด็น

-การก้าวล่วงอารมณ์
-อภิธัมมะ
-โลกุตตรกุศลจิต
-โคจร ๔ ประการ
-สมาบัติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 59 ต่างแห่งอารมณ์ คือโคจร ๔ อย่าง มีอากาศเป็นต้นที่จะพึงก้าวล่วง และที่จะพึงยึด กล่าวคือกสิณ อากาศ วิญญาณ และความไม่มีวิญญาณ นั้น ๆ จริงอยู่ อรูปาวจรจิตนั้น ก้าวล่วงกสิณนิมิตที่เป็นอารมณ์ แห่งปัญจมฌานแล้วยึดอากาศที่ได้แล้วด้วยการเพิกกสิณนิมิตนั้น แล้ว ล่วงอากาศแม้นั้น หน่วงวิญญาณที่เป็นไปในอากาศนั้น ล่วงวิญญาณ นั้น หน่วงเอาอากิญจนภาพ ซึ่งเป็นธรรมชาติไม่มีอรูปวิญญาณที่ ๑ นั้น และล่วงนัตถิภาพ (ความไม่มี) แม้นั้นเสีย หน่วงเอาอรูป วิญญาณที่ ๓ ที่เป็นไปในนัตถิภาพ (ความไม่มี) นั้นเป็นไปตามลำดับ แต่หาถือเอาอารมณ์แม้แห่งฌานต้น ๆ เป็นไปด้วยสามารถแห่งอันก้าว ล่วงองค์ต้น ๆ ดุจรูปาจรกุศลจิตไม่ ฯ เหตุนั้น พระอาจารย์ทั้งหลาย จึงได้กล่าวไว้ว่า อรูปสมาบัติแม้ทั้ง ๔ นี้ย่อมมี โดยก้าวล่วง อารมณ์ นักปราชญ์ทั้งหลาย ไม่ประสงค์ เอาการก้าวล่วงองค์แห่งอรูปสมาบัติทั้ง ๔ เหล่านี้ ฯ พรรณนาอรูปาวจรจิต จบ ฯ [โลกกุตตรกุศลจิต] บัดนี้ เพื่อจะแสดงจำแนกโลกุตตรกุศลจิตออกเป็น ๔ ประการ เพราะประกอบด้วยมรรค ๔ และผลเป็น ๔ ประการ เพราะเป็น ไปโดยอนุรูปแก่โลกุตตรกุศลนั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวคำมีอาทิว่า โสตาปตฺติมคฺคจิตฺติ ดังนี้ ฯ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More