ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา - หน้าที่ 408
มีจริต ๓ จริต ในหมวดจริต ๓ ที่มีราจริต
เป็นต้น, ๗ จริต ในหมวดจริต ๓ ที่มีสัทธา
จริตเป็นต้น โดยคละกันทั้งในจริตมูลเดียว
๒ มูล และ ๓ มูล ย่อมมีหมวด ๓ แห่ง
จริต ๓ หมวด ฯ
ก็ในคำนี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ มีความประพฤติ ๑๔ ประการ
เพราะไม่เอาหมวดจริต ๓ ทั้ง ๒ หมวดคละกัน อย่างนี้คือ ในหมวด
จริต ๓ มีราคจริตเป็นต้น มีหมวด ๒ แห่งจริตหมวดเดียวอย่างนี้ ได้แก่
ราคจริต โทสจริต โมหจริต ราคโทสจริต ราคโมหจริต โทสโมหจริต
ราคโทสโมหจริต และแม้ในหมวดจริต ๓ ที่มีสัมธาจริตเป็นต้น ก็มี
หมวด ๒ แห่งจริตหมวดเดียว ได้แก่สัทธาจริต พุทธิจริต วิตกจริต
สัทธาพุทธิจริต สัทธาวิตกจริต พุทธิวิตกจริต สัทธาพุทธิวิตกจริตฯ
แต่เมื่อประกอบหมวดจริต ๓ ที่มีราคจริตเป็นต้น กับหมวดจริต ๓
ที่มีสัทธาจริตเป็นต้น ด้วยอำนาจมูลเดียว ๒ มูล และ ๓ มูลแล้ว
ในนัยแห่งจริตมูลเดียว ย่อมมีหมวด ๒ แห่งจริต ๓ หมวด อย่างนี้ คือ
ในนัยแห่งจริตที่มีราคาเป็นมูล มีหมวด ๒ แห่งจริตหมวดเดียว คือ
ราคสัทธาวิตกจริต ราคพุทธิจริต ราควิตกจริต ราคสัทธาพุทธิจริต
ราคสัทธาวิตกจริต ราคพุทธิวิตกจริต ราคสัมธาพุทธิวิตกจริต และ
แม้ในนัยแห่งจริตที่มีโทสะเป็นมูล ก็มีหมวด ๓ แห่งจริตหมวดเดียว
โดยนัยเป็นต้นว่า โทสสัทธาจริต โทสพุทธิจริต โทสวิตกจริต แม้
ในนัยแห่งจริตที่มีโมหะเป็นมูล ก็มีหมวด ๒ แห่งจริตหมวดเดียว