ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 394
อภิธัมมัตถสังคหบาลีแปล
ปริเฉทที่ ๕
(ชื่อกัมมัฏฐานสังคหวิภาค)
[สังคหคาถา]
ต่อจากนี้ไป ข้าพเจ้า (ผู้ชื่อว่า อนุรุทธาจารย์)
จักกล่าวกัมมัฏฐานทั้ง ๒ อย่าง แห่งภาวนา ๒ คือ
สมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา ตามลำดับ ฯ
บรรดากรรมฐาน ๒ อย่างนั้น ในสมถสังคหะ พึงทราบการ
สงเคราะห์ (ประมวล, รวบรวม) สมถกรรมฐาน โดยนัย ๒ อย่าง
ก่อน คือ กสิฯ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสสติ ๑๐ อัปปมัญญา ๔ สัญญา
ววัตถาน (การกำหนด) ๑ และ อรูป ๔ ฯ พึงทราบการสงเคราะห์
(ประมวล) จริต ๖ อย่าง คือ ราคจริต ๑ โทสจริต ๑ โมหาจริต ๑
สัทธาจริต ๑ พุทธิจริต ๑ วิตกจริต ๑ ฯ พึงทราบภาวนา ๓ อย่าง
คือ บริกรรมภาวนา ๑ อุปจารภาวนา ๑ อัปปนาภาวนา ๑ ฯ จึง
ทราบนิมิต ๓ คือ บริกรรมนิมิต ๑ อุคคหนิมิต ๑ ปฏิภาคนิมิต ๑ ฯ
[กรรมฐาน ๔๐]
พึงทราบอย่างไร ? พึงทราบอย่างนี้ว่า วัตถุ ๑๐ อย่างเหล่านี้
คือ ปฐวีกสิณ ๑ อาโปกสิณ ๑ เตโชกสิณ ๑ วาโยกสิฯ ๑ นีลกสิณ ๑
0
* พระธรรมวราลังการ ปัจจุบันเป็น สมเด็จพระวันรัต (จับ ฐิตธมโม ป.ธ.๕)
วัดโสมนัสวิหาร พระนคร แปลฯ