อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 49
หน้าที่ 49 / 442

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้อธิบายถึงจิตในกามภพและประเภทต่างๆ ของจิต โดยแบ่งเป็นจำนวน ๕๔ รวมทั้งอธิบายถึงธรรมที่เกี่ยวข้องกับอกุศลวิบากและกุศลวิบาก เช่น อกุศลจิตและกุศลจิต พร้อมรายละเอียดของปฐมฌานกุศลจิตที่ประกอบด้วยธรรมเช่น วิตก, วิจาร, ปีติ, สุข และเอกัคคตา บรรยายการประกอบด้วยองค์ฌาน และบรรยายอรรถต่างๆ ของวิตกและการตรึกในอารมณ์ให้เข้าใจในลักษณะที่ยกสหชาตธรรมสู่อารมณ์อย่างชัดเจน โดยนำเสนอหลักการสำคัญในศึกษาธรรมะผ่านอภิธัมมาที่มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตและจิตใจ.

หัวข้อประเด็น

-อภิธัมมา
-จิตในกามภพ
-วิบากจิต
-กุศลและอกุศล
-ปฐมฌานของจิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา - หน้าที่ 49 จึงได้กล่าวคำว่า กาเม เตวีส ดังนี้เป็นต้น อธิบายความว่า จิตใน กามภพแม้โดยประการทั้งปวง ถึงเมื่อมีประเภทมากมาย โดยความ ต่างแห่งปกิณณกะ มีกาล ทวาร และสันดาร เป็นต้น ก็มีเพียง ๕๔ เท่านั้น โดยความต่างแห่งธรรมที่หยั่งลงสู่ภายในแห่งอกุศลวิบาก และกิริยา คือ อกุศลวิบาก ๗ กุศลวิบากเหตุกะและอเหตุกะ ๑๖ รวมวิบากจิต ๒๓ อย่างนี้ อกุศลจิต ๑๒ กุศลจิต ๘ รวมทั้งกุศลจิตและ อกุศลจิตเป็น ๒๐ อเหตุกะ ๓ สเหตุกะ 4 รวมเป็นกิริยาจิต ๑๑ ฯ พรรณนากามาวจรจิต จบฯ [รูปาวจรวรรณนา] บัดนี้ ถึงลำดับนิเทศรูปาวจรจิต ซึ่งท่านยกขึ้นแสดงไว้ในลำดับ แห่งกามาวจรจิตนั้น เพราะฉะนั้น เพื่อจะแสดงวิภาคแห่งรูปาวจรจิต นั้น โดยประการ ๕ อย่าง ด้วยความต่างแห่งการประกอบด้วยองค์ฌาน ท่านอาจารย์จึงกล่าวคำว่า วิตกก ฯลฯ สหิต เป็นต้นฯ [ปัญจกฌานจิต] ปฐมฌานกุศลจิต ประกอบด้วยธรรมเหล่านี้ คือ วิตก ๑ วิจาร ๑ ปีติ ๑ สุข ๑ เอกัคคตา ๑ จึงชื่อว่า วิตักกวิจารปีติสุเข กัคคตาสหิตะ ฯ บรรดาธรรมเหล่านั้น ธรรมที่ชื่อว่า วิตก เพราะอรรถว่า ตรึก ซึ่งอารมณ์ คือยกสัมปยุตธรรมทั้งหลายขึ้นสู่อารมณ์ ฯ วิตกนั้นมีอัน ยกสหชาตธรรมขึ้นสู่อารมณ์เป็นลักษณะ ฯ เปรียบเหมือนอย่างบุรุษ ๆ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More