ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 357
ต่าง ๆ มีอยู่ในปกรณ์นี้ ได้แก่ มหาปกรณ์อนันตนัยปัฏฐาน และ
สมันตปัฏฐาน ฯ นัยที่ทรงแสดงไว้ในมหาปกรณ์นั้น ชื่อว่าปัฏฐานนัยฯ
บทว่า ตตฺถ ได้แก่ บรรดานัยทั้ง ๒ นั้น ๆ ภาวะแห่งธรรมที่
มีปกติเกิดขึ้นโดยความเป็นแห่งปัจจัยธรรมนั้น ชื่อว่าทัพภาวภาวิภาพฯ
ตัพภาวภาวิภาพนั้นแล เป็นเพียงอาการ, นัยอันท่านกำหนดด้วยเพียง
อาการคือภาวะแห่งธรรมมีปกติเกิดขึ้น โดยความเป็นแห่งปัจจัยธรรมนั้น
ชื่อว่าอันท่านกำหนดด้วยตัพภาวภาวิภาพฯ ด้วยคำนี้นั่นแล แม้ภาวะ
แห่งนัยที่ท่านกำหนดโดยเป็นเพียงอาการคือธรรมที่มีเป็นปกติไม่เกิดขึ้น โดย
ความไม่เป็นแห่งปัจจัยธรรมนั้น ก็เป็นอันท่านแสดงแล้วโดยอรรถ ฯ
จริงอยู่ ลักษณะแห่งปัจจัย ควรแสดงด้วยอำนาจแห่งความคล้อยตาม
และความตรงกันข้าม (หรือแย้งกัน) ฯ เพราะเหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคจึงตรัสว่า "เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงเกิด
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ "
ธรรมที่ชื่อว่าปัจจัย เพราะอรรถว่า เป็นแดนอาศัยเป็นไปแห่ง
ผลฯ ที่ชื่อว่าฐิติ เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งอยู่แห่งผล โดยมีความ
เป็นไปเนื่องด้วยเหตุนั้น ๆ ฐิติกล่าวคือปัจจัยที่เป็นไปต่างออกไปอีกรูป
หนึ่ง คือพิเศษออกไป ชื่อว่าอาหัจจปัจจัยฐิติ ฯ ท่านอาจารย์ทำไว้
ในใจว่า จริงอยู่ ปฏิจจสมุปบาทนัย ไม่เล็งถึงความพิเศษที่นิยมปัจจัย
มีเหตุปัจจัยเป็นต้น ย่อมเป็นไปโดยไม่พิเศษนัก เพราะเป็นไปมุ่งหมาย
เพียงอาการ คือภาวะแห่งธรรมที่มีปกติเกิดขึ้น โดยความเป็นแห่งปัจจัย-
ธรรมนั้น, ส่วนปัฏฐานนัยนี้เป็นไปพิเศษ หมายถึงอาการพิเศษคือความ