ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 382
อาจารย์กล่าวไว้ว่า
ธรรมมีราคะและศรัทธาเป็นต้น อันบุคคล
อบรม (คือให้สำเร็จ) ในภายใน (คือใน
สันดานของตน) และธรรมคือสัตว์และ
สังขาร อันบุคคลส้องเสพในภายนอก (เป็น
อุปนิสัยแก่กุศลธรรมเป็นต้น ฯ)
อีกนัยหนึ่ง ประกอบความด้วยอำนาจแห่งความตามที่ตั้งอยู่นั่นแล
ว่า ก็ธรรมทั้งหลายมีราคะและศรัทธาเป็นต้น สุข ทุกข์ บุคคล
โภชนะ ฤดู เสนาสนะ ย่อมเป็นนิสัยแก่กุศลธรรมเป็นต้น ทั้งภายใน
ทั้งภายนอก ฯ ธรรมมีราคะและศรัทธาเป็นต้นของตน ย่อมเป็นนิสัย
(อุปนิสัย) แก่ธรรมมีกุศลธรรมเป็นต้นของตน และของคนเหล่าอื่น
ผู้อาศัยศรัทธาเป็นต้นของกัลยาณมิตรแล้วกระทำกุศลฯ บัณฑิตพึงเห็น
คำตามสมควรอย่างนี้ คือ ทาน ศีล อุโบสถ ฌาน อภิญญา วิปัสสนา
และมรรคภาวนาก็ดี ธรรมมีราคะชั้นสูง ๆ ขึ้นไปเป็นต้น อันเป็นเหตุ
แห่งธรรมมีราคะเป็นต้นก็ดี ย่อมมีเพื่ออาศัยซึ่งธรรมมีกามราคะเป็นต้น
ในบรรดาธรรมมีราคะเป็นต้นนั้น แล้วเกิดในภพทั้งหลายมีกามภพเป็นต้น
และเพื่อความเข้าไปสงบกิเลสมีราคะเป็นต้นฯ จริงอยู่ ธรรมชาติที่มี
การอาศัยธรรมชาตเกิดขึ้นนั้น ย่อมเป็นปกตูนิสัยแก่ธรรมชาตินั้น ๆ
ก็ท่านอาจารย์กล่าวไว้ว่า แท้จริง ปัจจัยนี้เป็นปัจจัยมีข้ออ้างมากมาย
คืออุปนิสสยปัจจัย ฯ ก็โดยอาการอย่างนั้น ท่านอนุรุทธาจารย์จึงกล่าวว่า
ปกตูนิสัยมีมากอย่าง ฯ