ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 347
เป็นปัจจัยเกิดสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิด
ภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิดมีชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส, กองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้ ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาทนัย ในอธิการ
แห่งปัจจัยสังคหะนี้ฯ
ในปฏิจจสมุปบาทนัยนั้น บัณฑิตพึงทราบอัทธา ๓ องค์ ๑๒,
อาการ ๒๐, สนธิ ๓, สังเขป ๔, วัฏฏะ ๓, และมูล ๒ ฯ พึงทราบ
อย่างไร ? พึงทราบอย่างนี้ อัทธา ๓ คือ อวิชชาและสังขาร เป็นอดี
ตัทธา (อดีตกาล) ชาติ ชรา และมรณะ เป็นอนาคตทธา (อนาคต-
กาล) องค์ทั้ง ๘ ในท่ามกลาง เป็นปัจจุปันนัทธา (ปัจจุบันกาล)ฯ
องค์ ๑๒ คือ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ
เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ ฯ ก็คำว่าโสกะเป็นต้น
ในปฏิจจสมุปบาทนัยนี้ เป็นการแสดงผลที่ไหลออกมา (จากชาติ) ฯ
แต่ในปฏิจจสมุปบาทนัยนี้ ทั้งตัณหา อุปาทาย และภพ ย่อมเป็น
อันท่านถือเอาแล้วด้วยศัพท์ว่า อวิชชาและสังขาร, อนึ่ง อวิชชา
และสังขาร ท่านก็ถือเอาด้วยศัพท์ว่า ตัณหา อุปาทานและภพ และ
ผล ๕ อย่าง มีวิญญาณเป็นต้น ท่านก็ถือเอาศัพท์ว่า ชาติ ชราและ
มรณะเช่นเดียวกัน เพราะทำอธิบายอย่างนี้ ท่านจึงกล่าวว่า