อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 20
หน้าที่ 20 / 442

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวข้องกับความเข้าใจในอภิธรรมว่าด้วยจิตและอารมณ์ พระอาจารย์ได้อธิบายว่าจิตเป็นธรรมชาติที่ทำให้การรู้อารมณ์เกิดขึ้น และมีการสืบค้นสิ่งที่เป็นผลมาจากกรรมและกิเลสที่สั่งสมไว้ การแสดงธรรมนี้มีแง่มุมที่แสดงถึงความสำคัญของการพัฒนาและการเรียนรู้จิตใจ การศึกษาหาความรู้เรื่องจิตในบริบทของอภิธรรมนี้จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมการเติบโตทางจิตวิญญาณและการเข้าใจในธรรมชาติของตน รวมถึงการทบทวนสิ่งที่สร้างสรรค์ความเป็นจริงในชีวิต.

หัวข้อประเด็น

-จิตและอารมณ์
-อภิธรรม
-ธรรมชาติของจิต
-การศึกษาธรรม
-กรรมและกิเลส

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ๆ ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 20 คัดค้านด้วยบทว่า มีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะนั้น ๆ อนึ่ง ธรรมชาติที่ ชื่อว่าจิต เพราะอรรถว่าเป็นเหตุให้สัมปยุตธรรมรู้อารมณ์ ฯ อีกนัยหนึ่ง เพียงแต่ความคิด ชื่อว่าจิตฯ แท้จริง เพียงความเป็นไปตามปัจจัย เท่านั้น ชื่อว่าสภาวธรรมฯ ก็เพราะทำอธิบายอย่างนี้ ภาวสาธนะ เท่านั้น บัณฑิตย่อมได้แก่ปรมัตถธรรมแม้ทั้งหมด โดยนิปปริยายฯ แต่วิเคราะห์ด้วยอำนาจแห่งกัตตุสาธนะและกรณสาธนะ พึงเห็นว่า เป็นการกล่าวโดยปริยาย ฯ จริงอยู่ ธรรมทั้งหลายเป็นกัตตุภาพ ในกิจของตน ๆ โดยยกตนขึ้นเป็นประธาน และธรรมที่จะพึงให้สำเร็จ เป็นกรณะ โดยยกกัตตุภาพขึ้นในหมู่สหชาตธรรม ด้วยความอนุกูลแก่ กัตตุนั้น ท่านย่อมได้โดยปริยายเท่านั้น ฯ การแสดงเช่นนั้น บัณฑิตพึง ทราบว่า เพื่อแสดงความไม่มีแห่งการกมีกัตตุเป็นต้น ที่พ้นไปจาก สภาพแห่งธรรมฯ พระอาจารย์ทั้งหลายพรรณนาอรรถแห่ง จิต ศัพท์ ไว้แม้โดยอรรถ มีอันทำให้วิจิตรเป็นต้น ฯ แต่ย่อเนื้อความในอธิการ นี้ได้ ดังนี้ ธรรมชาติที่ชื่อว่า จิต เพราะทำให้วิจิตร หรือ เพราะภาวะแห่งตนเป็นธรรมชาติวิจิตร หรือ เพราะอันกรรมและกิเลสสั่งสมไว้ อนึ่ง หรือ เพราะรักษาไว้ซึ่งอัตภาพอันวิจิตร หรือเพราะ สั่งสมซึ่งสันดานของตน หรือเพราะมีอารมณ์ อันวิจิตร
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More