อภิธัมมัตถสังคหบาลี บทวิเคราะห์ อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 361
หน้าที่ 361 / 442

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เป็นการวิเคราะห์เนื้อหาในอภิธัมมัตถสังคหบาลี ซึ่งพูดถึงปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดชาติและสภาวะต่างๆ เช่น อุปปัตติภพ ชรา มรณะและโสกะ ซึ่งสัมพันธ์กันในทางปรัชญาของพุทธศาสนา โดยมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงความเชื่อมโยงของแต่ละปัจจัยและการปรากฏของอารมณ์ ความทุกข์ในชีวิตประจำวันที่คนต้องเผชิญ เมื่อเราดำเนินชีวิตที่ถูกทุกข์ธรรม โดยเฉพาะการเสื่อมญาติและทุกขเวทนา ที่ส่งผลต่อจิตใจและร่างกายของมนุษย์ ซึ่งจะเข้าใจได้ดีเมื่อพิจารณาภายใต้ปฏิจจสมุปบาทที่อธิบายถึงการพึ่งพากันของปัจจัยทั้งมวล

หัวข้อประเด็น

-อภิธัมมัตถสังคหบาลี
-ชาติและทุกข์
-อุปปัตติภพ
-ความแก่
-ความตาย
-การวิเคราะห์ทุกข์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 361 ก็ในบทว่า อุปาทานปจฺจยา ภโว นี้ แม้อุปปัตติภพท่านก็ประสงค์ เอา ฯ ในคำว่า ภวปจฺจยา ชาติ นี้ ท่านประสงค์เอากรมภพเท่านั้น ฯ จริงอยู่ กรรมภพนั้น ย่อมเป็นปัจจัยแก่ชาติ ภพนอกนี้หาเป็นไม่ (อุปปัต ติภพนอกนี้หาเป็นปัจจัยแก่ชาติไม่) ๆ จริงอยู่ อุปปัตติภพนั้นเป็นสภาวะ แห่งขันธ์ที่เกิดทีแรก (เป็นความมีของขันธ์ที่เกิดมาทีแรก) จัดเป็น ชาติทีเดียว (คือชาตินั่นเอง)ฯ ก็ธรรมชาติกล่าวคืออุปปัตติภพนั้น นั่นแล เป็นเหตุแก่อุปปัตติภพนั้นไม่ควร ฯ การได้เฉพาะซึ่งอัตภาพ ของสัตว์ทั้งหลายนั้น ๆ ในที่ทั้งหลายมีคติเป็นต้นนั้น นั้น ๆ ชื่อว่าชาติฯ ก็ภาวะแห่งอัตภาพที่เกิดมาแล้วอย่างนั้นเก่าแก่ไป ชื่อว่าชรา ฯ ความ *สิ้นสุดลงแห่งอัตถภาพนั้นนั่นเอง ซึ่งกำหนดในภพหนึ่ง ชื่อว่ามรณะฯ ความกรมเกรียมใจของคนที่ถูกทุกขธรรม (เหตุแห่งทุกข์) มีความ เสื่อมญาติเป็นต้นถูกต้องแล้ว ชื่อว่าโสกะ ฯ ความบ่นพ้นด้วยวาจา ของคนนั้นนั่นแล ชื่อว่าปริเทวะ ฯ ทุกขเวทนาเป็นไปทางกาย ชื่อว่า ทุกข์ฯ ทุกขเวทนาเป็นไปทางใจ ชื่อว่าโสกะ ฯ ความบ่นเพ้อด้วยวาจา ของคนนั้นนั่นแล ชื่อว่าปริเทวะ ทุกขเวทนาเป็นไปทางกาย ชื่อว่า เหลือทน ซึ่งถูกทุกข์ทางใจมีประมาณยิ่งเสริมให้ทวีขึ้น ของคนผู้อัน ทุกขธรรมมีความเสื่อมญาติเป็นต้นถูกต้องแล้ว ชื่อว่าอุปายาส ฯ [อธิบายปฏิจจสมุปบาทเป็นปัจจัยกันและกัน] ก็ในปฏิจจสมุปบาทนัยนี้ บัณฑิตพึงเห็นว่า เมื่อปัจจัยอื่นมีวัตถุและ อารมณ์เป็นต้นแม้มีอยู่ การถือเอาปัจจัยแต่ละอย่าง ๆ มีอวิชชาเป็นต้น เพราะความเป็นประธานและเพราะความปรากฏฯ ก็บรรดาปัจจัยมี
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More