ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 319
ด้วยอำนาจความพอใจในรูปภพและอรูปภพ ชื่อว่าภวาสวะ ได้แก่ความ
ติดใจในฌานฯ ความกำหนัด เฉพาะที่สหรคตด้วยสัสสตทิฏฐิ ท่าน
สงเคราะห์ลงในภวาสวะนี้เหมือนกันฯ บรรดาราคะ ๓ อย่าง ตามที่
กล่าวแล้วนั้น ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ (ในรูปภพและ
อรูปภพ) ที่ ๑ ชื่อว่าความกำหนัด (เป็นไป) ในอุปบัติภพ
ความกำหนัด (คือความติดใจในฌาน) ที่ ๒ ชื่อว่าความกำหนัด
(ที่เป็นไป) ในกรรมภพ ความกำหนัด (ที่สหรคตด้วยสัสสตทิฏฐิ)
ที่ ๓ ชื่อว่าความกำหนัดที่สหรคตด้วยภวทิฏฐิ ฯ ทิฏฐิ ๖๒ อย่าง
ชื่อว่าทิฏฐาสวะฯ ความไม่รู้ในฐานะ ๔ คือ ในสัจจะ ๔ มีทุกข์
เป็นต้น ในส่วนสุดเบื้องต้น ในส่วนสุดเบื้องปลาย ทั้งในส่วนสุด
เบื้องต้นและเบื้องปลาย และในปฏิจจสมุปบาท ชื่อว่าอวิชชาสวะ ฯ
[อธิบายโอฆะกิเลสดุจห้วงน้ำ
ห้วงน้ำ ท่านเรียกว่า โอฆะ เพราะท่วมทับ (สัตว์) แล้วพัดไป
หรือเพราะให้จมลง คือเพราะทำให้อยู่ภายใต้แล้วพัดไป ได้แก่เพราะ
ให้จมดิ่งลงฯ ก็ธรรมมีโลภะเป็นต้นเหล่านี้ ครอบงำนำสัตว์ทั้งหลาย
ไป (ครอบงำห้ำหั่นสัตว์ทั้งหลาย) คือเป็นเหมือนให้สัตว์ทั้งหลายจมลง
ในวัฏฏะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าโอฆะ เพราะเป็นเช่นกับห้วงน้ำฯ ก็
ในโอฆนิเทศนี้ อาสวะนั่นแล ท่านเรียกว่า โอฆะ เพราะมีอรรถ
ตามที่กล่าวแล้วฯ
(อธิบายโยคะ คันถะ และอุปาทาน]
ธรรมที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล ชื่อว่าโยคะ เพราะอรรถว่า