อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - เจตสิกสังคหวิภาค อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 70
หน้าที่ 70 / 442

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับอภิธัมมัตถสังคหบาลี และการศึกษาเจตสิกที่มีการอธิบายถึงธรรม ๕๒ ประการที่ประกอบกับจิตและการเกิดดับในที่เดียวกัน โดยการจำแนกความหมายของเจตสิกประเภทต่างๆ เช่น ผัสสะ, เวทนา, และเจตนา รวมถึงการชนิดต่างๆ ของเจตสิกที่มีผลต่อการทำงานของจิต ปัจจุบันบทนี้ถูกแปลโดยพระอริยเมธีมานิต ถาวโร ป.ธ.๕ จากวัดสัมพันธ์วงศ์ พระนคร เพื่อให้ความเข้าใจในหลักธรรมที่ซับซ้อนได้

หัวข้อประเด็น

-อภิธัมมัตถสังคหบาลี
-เจตสิก
-ประเภทของเจตสิก
-ธรรม ๕๒ อย่าง
-การเกิดดับในจิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 70 ภิธัมมัตถสังคหบาลีแปล (ปริเฉทที่ ๒ ชื่อเจตสิกสังคหวิภาค) [สังคหคาถา] ธรรม ๕๒ อย่าง ประกอบกับจิต มีการ เกิดดับในที่เดียวกัน ทั้งมีอารมณ์และวัตถุ อย่างเดียวกัน บัณฑิตลงมติว่าเจตสิก ฯ คืออย่างไร ? คืออย่างนี้ เจตสิก ๓ เหล่านี้ คือ ผัสสะ ๑ เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ เอกัคคตา ๑ ชีวิตนทรีย์ ๑ มนสิการ ๑ ชื่อว่าสัพพจิตตสาธารณะ (มีทั่วไปแก่จิตทั้งปวง) เจตสิก 5 เหล่านี้ คือ วิตก ๑ วิจาร ๑ อธิโมกข์ ๑ วิริยะ ๑ ปีติ ๑ ฉันทะ ๑ ชื่อว่าปกิณณกะ ฯ เจตสิก ๑๓ เหล่านี้ บัณฑิตพึงทราบว่า อัญญาสมานา (มีเสมอแก่จิตเหล่าอื่น) ด้วยประการอย่างนี้ ฯ ๑ เจตสิก ๑๔ เหล่านี้ คือ โมหะ ๑ อหิริกะ อโนตตัปปะ ๑ อุทธัจจะ ๑ โลภะ ๑ ทิฏฐิ ๑ มานะ ๑ โทสะ ๑ อิสสา ๑ มัจฉริยะ ๑ กุกกุจจะ ๑ ถีนะ ๑ มิทธะ ๑ วิจิกิจฉา ๑ ชื่อว่าอกุศลฯ เจตสิก ๑๕ เหล่านี้ คือ สัทธา ๑ สติ ๑ หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ อโลภะ ๑ อโทสะ ๑ ตัตรมัชฌัตตตา ๑ กายปัสสัทธิ ๑ จิตตปัสสัทธิ ๑ กายสหุตา ๑ จิตตลหุตา ๑ กายมุทุตา จิตตมุทุตา ๑ กายกัมมัญญาตา ๑ * พระอริยเมธี ปัจจุบันเป็น พระธรรมบัณฑิต (มานิต ถาวโร ป.ธ.๕) วัดสัมพันธ์วงศ์ พระนคร แปล.
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More