การศึกษาจิตวิทยาในอภิธัมมัตถสังคหบาลี อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 258
หน้าที่ 258 / 442

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจการศึกษาปฏิสนธิจิตตามคำสอนในอภิธัมมัตถสังคหบาลี โดยมีการวิเคราะห์ถึงความไม่ยั่งยืนของจิตและความสำคัญในการเข้าถึงพระนิพพานผ่านญาณที่สัมปยุตด้วยมรรคและผล เนื้อหานี้ช่วยทำให้เข้าใจลึกซึ้งถึงการตัดกิเลส และการเข้าถึงธรรมอันสงบในรูปแบบที่ไม่เหลือเศษ ผ่านการประพฤติดีของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นญาณสำคัญในระบบการเรียนรู้ทางศาสนาและปฏิบัติธรรมไปสู่ความเจริญสูงสุดและนิพพาน.

หัวข้อประเด็น

- ปฏิสนธิจิต
- อภิธัมมัตถสังคหบาลี
- พระนิพพาน
- การตัดกิเลส
- จิตวิทยาศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 258 คือพิจารณาปฏิสนธิจิตเป็นต้นนี้ คือที่หมุนเวียนเป็นไปตามที่กล่าวมาแล้ว (ว่า) ไม่ยั่งยืนถาวร คือไม่เที่ยง ได้แก่มีความทรุดโทรมไปเป็นธรรมดา เป็นผู้มีวัตรเป็นอันดี (คือมีความประพฤติดี) มานาน คือตลอดกาล นาน ได้บรรลุบท ได้แก่บทคือพระนิพพานอันไม่จุติ คือยั่งยืน คือมี อันไม่เคลื่อนไปเป็นธรรม คือได้ทำให้แจ้งชัด ด้วยญาณที่สัมปยุตด้วย มรรคและผล เพราะทำพระนิพพานให้แจ้งด้วยญาณสัมปยุตด้วยมรรคผล นั้นแล จึงเป็นผู้ตัดกิเลสเครื่องผูกมัด คือความเยื่อใยได้เด็ดขาด้วยดี จักถึง คือจักบรรลุธรรมอันสงบ คือนิพพานธาตุ อันหาอุปธิเหลือเศษ มิได้ฯ พรรณนาความปริเฉทที่ ๕ แห่งอภิธัมมัตถสังคหฎีกา ชื่ออภิธัมมัตถวิภาวินี จบด้วยประการฉะนี้ ฯ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More