ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยคส - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 428
เป็นต้น ที่มาแล้วด้วยอำนาจขันธ์ ๕ ทวาร ๖ อารมณ์ ๖ และธรรม
ที่เป็นไปในทวาร ๖ เป็นต้น ย่นย่อเข้าด้วยอำนาจแห่งหมวด คือด้วย
อำนาจแห่งหมู่ แล้วพิจารณา คือใคร่ครวญไตรลักษณ์ ด้วย
สัมมสนญาน คือด้วยญาณที่เป็นไปด้วยอำนาจการพิจารณาหมวด
ซึ่งเป็นไปด้วยอำนาจการพิจารณาไตรลักษณ์ที่นับว่าอาการ คือ
มีแล้วหาไม่ ถูกความเกิดขึ้นและดับไปบีบคั้น และไม่เป็นไปใน
อำนาจ ด้วยสามารถแห่งกาลมีอดีตกาลเป็นคั้น และไม่เป็นไปใน
สืบต่อของธรรมที่เป็นอดีตเป็นต้น และด้วยสามารถแห่งขณะมีขณะที่
ล่วงไปแล้วเป็นอาทิ โดยนัยเป็นต้นว่า รูปที่เกิดแล้วในอดีต ก็ดับไป
แล้วในอดีตนั่นเอง แม้รูปที่จักมีในอนาคต ก็จักดับไปในอนาคตนั้น
เหมือนกัน รูปที่เป็นปัจจุบันยังไม่ถึงอนาคต จักดับลงในปัจจุบันนี้
เหมือนกัน ธรรมทั้งหลายมีรูปภายใน รูปภายนอก รูปละเอียด
รูปหยาบ รูปเลว และรูปประณีตเป็นต้น ก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้น
รูปนั้นจึงชื่อว่าไม่เที่ยง คือไม่ควรปรารถนา” ได้แก่ไม่พึงเข้าถึง
ด้วยสามารถเป็นสิ่งที่ถือกันว่าเที่ยงมีอัตตาเป็นต้น เพราะอรรถว่า
สิ้นไป คือเพราะความหมดไป ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะอรรถว่า
น่ากลัว คือเพราะเป็นเหตุแห่งความกลัว (เพราะกระทำให้กลัว)
ชื่อว่าเป็นอนัตตา เพราะอรรถว่า ไม่มีแก่นสาร คือเพราะไม่มี
อัตตาที่เป็นสาระแก่สารเป็นต้น และโดยนัยมีอาทิว่า จักษุไม่เที่ยง
ฯลฯ ใจ รูป ฯลฯ ธรรมทั้งหลาย จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโน
๑. ฉบับพม่าและสีหลเป็น น อิจจ์ แปลว่า ไม่ควรถึง 1