อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 53
หน้าที่ 53 / 442

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจเกี่ยวกับธรรม 5 ประการที่ช่วยปราบอารมณ์ไม่ดี เช่น กามฉันท์ และความทุกข์ ต่างมีการวิเคราะห์การตั้งมั่นของจิตและการทำงานของวิตกและสมาธิ ที่เป็นอุปกรณ์สำคัญในการเข้าถึงความสงบ อธิบายการเจริญฌานและแนวทางของบัณฑิตในการพัฒนาปัญญาเพื่อต่อสู้กับกิเลสต่าง ๆ เช่น ราคะและพยาบาท เพื่อค้นหาความสุขที่แท้จริง

หัวข้อประเด็น

- อภิธัมมัตถ
- ธรรม 5
- กิจการเพ่ง
- บัณฑิต
- ฌาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 53 สัมปยุตธรรมมีวิตกเป็นต้นเหล่านี้นั่นแล จึงมีกิจคือการเพ่งเป็นแผนก ๆ ฯ แต่บัณฑิต พึงทราบความพิเศษแห่งธรรมทั้ง ๕ นั้นในความเป็นคู่ ปราบกามฉันทะเป็นต้นฯ สมาธิเป็นคู่ปราบกามฉันทะ เพราะเป็น ข้าศึกโดยตรงแก่กิเลสชาตเป็นเหตุตั้งลงคือราคะ ฯ จริงอยู่ การตั้งมั่น ของจิตที่ถูกอารมณ์ต่าง ๆ เล้าโลมแล้ววกวนอยู่ด้วยอำนาจกามฉันท์ “ย่อมมีได้เพราะเอกัคคตาฯ ปีติเป็นคู่ปราบพยาบาท เพราะมีความ ปลื้มใจเป็นสภาพฯ วิตกเป็นคู่ปราบถีนมิทธะ เพราะเป็นไปพร้อม กับความแผ่ไปด้วยอำนาจการพิจารณาโดยแยบคาย ฯ สุขเป็นคู่ปราบ อุทธัจจกุกกุจจะ ซึ่งมีความไม่สงบและความตามเดือดร้อนเป็นสภาพ เพราะสุขมีความสงบและเยือกเย็นเป็นสภาพฯ วิจารเป็นคู่ปราบวิจิกิจฉา เพราะมีสภาพเหมือนกับปัญญา ด้วยสามารถแห่งความคลุกเคล้า ในอารมณ์ ฯ ธรรม ๕ ประการมีวิตกเป็นต้นเหล่านี้นั่นแล ท่าน กำหนดไว้ โดยความเป็นองค์แห่งฌาน ๕ เพราะมีกิจคือการเพ่ง และ เพราะเป็นปฏิปักษ์โดยตรงแก่กามฉันทนิวรณ์เป็นต้น ๆ เหมือนอย่าง ที่ท่านอาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า แม้เมื่อธรรมอื่นมีผัสสะเป็นต้นมีอยู่ ธรรม ๕ ประการเท่านั้น ท่านกำหนดหมายว่าฌาน เพราะมีกิจคือการเพ่ง และเพราะเป็นปฏิปักษ์ ต่อกามฉันท์เป็นต้น ฯ บัณฑิตพึงเห็นว่า ก็บรรดาองค์ฌาน ๕ มีวิตกเป็นต้นนี้ อุเบกขา รวมเข้าในสุขนั่นแล เพราะมีความเป็นไปสงบเป็นสภาพฯ เพราะ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More