ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 108
(ประมวล) ๔ อย่าง คือ ธรรม ๑๒ มีในหมื่นจิต ธรรม ๑๑ มีใน
โวฏฐัพพนจิต และสุขสันตีรณจิต ธรรม ๑๐ มีในจิต ๕ ด้วยสามารถ
มโนธาตุ ๓ และเหตุกปฏิสนธิทั้งคู่ ธรรม ๑ มีในทวิปัญจวิญญาณ ฯ
บทว่า เตตฺติวิธสงฺคหา ความว่า การสงเคราะห์ (การประมวล) ๓๓
อย่าง คือ ในอนุตตรจิต (โลกุตตจิต) มีการสงเคราะห์ (การประ
มวล) ๕ อย่าง ในมหัคคตจิตก็มี ๕ อย่างเหมือน ในกามาวจร โภณ-
จิตมีการสงเคราะห์ (การประมวล) ๑๒ อย่าง ในอกุศลจิต มีการ
สงเคราะห์ (การประมวล) ๓ อย่าง ในอเหตุกจิต มีการสงเคราะห์
(การประมวล) ๔ อย่าง ฯ
บัณฑิต ครั้นทราบสัมประโยคที่กล่าวไว้ด้วยอำนาจการกำหนดจิต
และการสงเคราะห์ (การประมวล) ที่กล่าวไว้ด้วยอำนาจการกำหนด
เจตสิกราสี แห่งเจตสิกที่ไม่แยกจากกันกับจิต ด้วยประการอย่างนี้ คือ
โดยนัยตามที่กล่าวแล้ว จึงแสดงความแตกต่างเท่ากับจิตตามสมควรแก่
การประกอบฯ อธิบายว่า บัณฑิตพึงกล่าวโดยนัยเป็นต้นว่า เจตสิกที่
ทั่วให้แก่จิตทุกดวง มีเพียง ๒, แต่อย่างหนึ่ง ๆ มีถึง ๘๕ เพราะเกิด
ขึ้นในจิต ๔๕, ในบรรดาปกิณณกเจตสิก วิตกมี ๕๕ อย่าง เพราะเกิดใน
จิต ๕๕
พรรณนาความปริเฉทที่ ๒ แห่งอภิธัมมัตถสังหฎีกา ชื่ออภิธัม
มัตถวิภาวินี จบด้วยประการฉะนี้แล ฯ